Last updated: 5 ส.ค. 2565 | 4497 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อวันเสาร์ ที่ 17 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในงานเทศกาลหนังสือ BANGKOK BOOK FESTIVAL 2021 ได้จัดกิจกรรม ONLINE TALK ในหัวข้อ 'Lecture: นอกคดีความและสัตว์ประหลาด: ว่าด้วยบันทึกปรัชญาของ ฟรันซ์ คาฟคา โดย รัฐพล เพชรบดี' โดยในการเลคเชอร์นั้น มีหัวข้อที่น่าสนใจอยู่หลายหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ หนังสือ บันทึกปรัชญาขนาดสั้นของ ฟรันซ์ คาฟคา / มุมมองทางปรัชญา และรูปแบบงานเขียนที่เรียกว่า Aphorisms
ซึ่งในบทความนี้ สนพ.สมมติได้นำหัวข้อ Aphorisms คืออะไร? มาสรุปไว้ให้ได้ติดตามกัน
Aphorisms คืออะไร?
ตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถานให้ความหมายไว้ว่า ‘คติพจน์’
ส่วนใน englishliterature.net นิยามไว้ว่า
Nature of Aphorisms
In general: “Aphorisms is compact, condensed and epigrammatic style that expresses an opinion or makes a statement of wisdom or truth”
สรุป ธรรมชาติของ Aphorisms มีแก่นสารอยู่สามอย่างในทางกว้างๆ ก็คือ
จากนี้ คือการลงรายละเอียด วิพากษ์ วิจารณ์ความเป็น Aphorisms
เริ่มจาก The Four Characteristics of Aphorisms –ใน the faber book of aphorisms โดย
1.ต้องเป็นลักษณะที่มีการปรากฏของสิ่งที่เรียกว่าสัจจะสากล (Universally true) หรือถ้าหากเป็นสัจจะสากลไม่ได้ ก็อาจจะย่อลงมาเป็นสัจจะที่ปรากฏในยุคบางยุคซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกันก็ได้
2.เป็นงานเขียนที่ปรากฏในทางโจมตีเนื้อหาอะไรบางอย่าง หรือมีเนื้อหาในทางนิเสธ ซึ่งในข้อนี้ไม่ใช่คุณสมบัติที่จำเป็นจะต้องมี เนื่องจากไม่ขัดต่อเงื่อนไขในการเป็น Aphorisms
3.ต้องมีความสั้น กระชับ กะทัดรัด
4.(สำคัญและน่าสนใจ) งานเขียนในทาง Aphorisms มีกลิ่นอายในลักษณะของ elite/Aristocratic เนื่องจากงานเขียนชนิดนี้จะต้องมีความรุ่มรวยทางภาษาอย่างมาก และต้องมีลักษณะที่คล้ายคำสั่ง กล่าวคือ เป็นงานที่มีเจตนาในการบอกเล่าเท่านั้น ไม่ต้องการการตั้งคำถาม หรือความเห็นใดๆ (เจ้านาย - คนธรรมดา)
งานเขียนของคาฟคา (ดู บันทึกปรัชญาขนาดสั้นของฟรันซ์ คาฟคา) เองมีลักษณะที่หนักแน่นและรุนแรง พยายามที่จะบอกเล่าโดยที่ไม่ต้องตั้งคำถามอะไรอีกต่อไป ให้เชื่อตามที่เล่าเท่านั้น ภาษาที่เขียนก็เป็นการตกผลึกมาแล้ว
The Practice in Everyday Life – Michel de Certeau
วิพากษ์วิจารณ์ว่า Aphorisms มีการผูกขาดความหมายโดยกลุ่ม Aristocrat กล่าวคือ งานเขียนประเภทนี้จะเป็นงานเขียนที่คนธรรมดาจะมาให้ความหมายไม่ได้ ต้องเป็นกลุ่มชนชั้นนำมาปูความหมายเท่านั้น และความรุนแรงของเนื้อหาก็เป็นเจตนารมย์ของชนชั้นที่เขียนขึ้นมาก็เพื่อให้ชนชั้นล่างฟัง กล่าวคือ บอกเล่าให้เชื่อว่าความเป็นจริงของสิ่งต่างๆ นั้นเป็นอย่างไร
The World Phrase – James Geary
บอกไว้ว่า ก็ 5 ข้อที่จะเป็น Aphorisms คือ
1.ต้องมีความกะทัดรัด สั้น
2.ต้องเป็นเนื้อหาที่มีความจำกัดในตัวเอง พยายามจำกัดตัวเองอยู่ในเนื้อหา พูดเฉพาะแก่นสารเท่านั้น – Aphorismos
3.งานเขียนต้องอยู่ในใต้ขอบฟ้า (horizon) ของตน
4.มีจุดหักมุมของเรื่อง - twist
5.ต้องมีความเป็นปรัชญา (philosophy; metaphysics - อภิปรัชญา, epistemology - ญาณวิทยา, ethics - จริยศาสตร์, etc.) ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่อภิปรัชญาเท่านั้น
ส่งท้าย
Aphorisms ไม่ใช่ epigram (คำคม; ฉันเป็นคนเดินช้า แต่ฉันไม่เคยเดินถอยหลัง) เนื่องจากคำคมให้ความประทับใจเพียงเท่านั้น ไม่ได้สร้างองค์ความรู้ และไม่ใช่ปรัชญา
Aphorisms ไม่ใช่ poetry เพราะ poetry ต้องมี beauty เป็นเงื่อนไขสำคัญ
Aphorisms ไม่ใช่ adage (ภาษิต; เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด) เพราะว่าไม่เป็นปรัชญา รวมถึงภาษิตยังต้องเชื่อมโยงกับวัฒนธรรม
Aphorisms ไม่ใช่ maxim แม้ว่าจะคล้ายที่สุด แต่ maxim จะเน้นไปในทางปฏิบัติมากกว่า และไม่จำเป็นจะต้องมีความรุ่มรวยทางภาษา
==========
สำนักพิมพ์สมมติ ขอแนะนำ งาน Aphorisms ระดับต้องอ่าน
The Zürau Aphorisms - บันทึกปรัชญาขนาดสั้นของฟรันซ์ คาฟคา แปลเป็นไทยอย่างละเมียด โดย รัฐพล เพชรบดี
บันทึกปรัชญาขนาดสั้น ว่าด้วยภาพสะท้อนของบาป,
ความหวัง, ความทุกข์ทรมาน และหนทางที่แท้จริง
(The Zürau Aphorisms Reflections on Sin,
Hope, Suffering, and the True Way)
ฟรันซ์ คาฟคา (Franz Kafka) : เขียน
รัฐพล เพชรบดี : แปล
โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ : คำนิยม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม
ฉบับพิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2564
ความหนา : 144 หน้า
ราคา 200 บาท
ISBN 978-616-562-031-4
17 ก.ค. 2563
14 เม.ย 2564