Last updated: 24 มิ.ย. 2565 | 11456 จำนวนผู้เข้าชม |
ในห้วงยามที่ผู้คนพูดถึง 'คณะราษฎร' กันอย่างกว้างขวางกว่าแต่ก่อน การกลับมาเป็นที่สนใจของ 'คณะราษฎร' ครั้งนี้มีเหตุปัจจัยหลายอย่าง ทั้งการกระทำโดยรัฐเองและการเผยแพร่ข้อมูลต่างๆ ที่ดึงดูดความสนใจ
สำนักพิมพ์รวมบทความเกี่ยวกับประเด็น 'คณะราษฎร' ที่สามารถโหลดไปอ่านกันแบบฟรีๆ จากหลายท่าน
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล . นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ . วรเจตน์ ภาคีรัตน์ . จีรวุฒิ บุญรัศมี . ณัฐสิทธิ์ ทวีพันธ์ . ปวีณา วังมี . ชาติชาย มุกสง . เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช . มรกต เจวจินดา . กษิระ ศรีเจริญ . โดม ไกรปกรณ์ . ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์
1. ความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของปรีดี พนมยงค์
— สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (หน้า 3-8)
"วิกฤตการณ์ทางการเมืองที่เกิดขึ้นจาก 'เค้าโครงเศรษฐกิจ' ของปรีดี นำไปสู่การปิดสภา (เมษายน 2476) การรัฐประหาร (มิถุนายน 2476) การกบฎโดยใช้กำลัง (ตุลาคม 2476) และในที่สุด การสละราชสมบัติของรัชกาลที่ 7 (มีนาคม 2477)"
https://bit.ly/2W77SDH
============
2. 80 ปีแห่งการปฏิวัติสยาม
— นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ (หน้า 5-20)
"ความสำเร็จของการปฏิวัติ การเปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายนคือการเคลื่อนย้ายให้พระเจ้าอยู่หัวดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐเพียงอย่างเดียว นับจากปี 2475 จนกระทั่งถึงวันนี้
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่เคยเสด็จประชุมเสนาบดีสภา หรือในคณะรัฐมนตรีเลย"
https://bit.ly/3eaMT9b
============
3. คณะราษฎรกับการสร้างลัทธิบูชารัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๒
— ณัฐสิทธิ์ ทวีพันธ์
"ลัทธิบูชารัฐธรรมนูญถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ผู้คนกราบไหว้ เพื่อลดทอนล้มล้างบทบาทความศรัทธาในความเป็นสมมติเทพของสถาบันกษัตริย์ในยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์"
https://bit.ly/2Obm6PE
============
4. รัฐไทยกับการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนในช่วง พ.ศ. 2475-2487
— ปวีณา วังมี
"จุดมุ่งหมายหลักของการกล่อมเกลาทางการเมืองผ่านแบบเรียนระหว่างปีพ.ศ.2475 - 2487 นั้น คือการสร้างพลเมืองดีเพื่อสนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญ"
https://bit.ly/2ZeEUnv
============
5. สยามใหม่กับเอกราช(ไม่)สมบูรณ์ : คณะราษฎรในยุคสมัยแห่งความเท่าเทียมระหว่างชาติ
— จีรวุฒิ บุญรัศมี
"[หนังสือคู่มือพลเมือง] มีการพิมพ์คำว่า 'ไทย-เอกราษฎร์' ไว้ด้วยตัวอักษรขนาดใหญ่ ... การย้ำคำว่า 'ไทย-เอกราษฎร์' ถือว่าเป็นการตอกย้ำถึงแนวความคิด 'เอกราชสมบูรณ์'
ซึ่งถูกกล่าวถึงในจำนวนครั้งที่ค่อนข้างมากในหนังสือเล่มนี้เช่นกัน"
https://bit.ly/2W3IezH
============
6. การสร้างวัฒนธรรมใหม่ และ บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการ: โครงสร้างทางอารมณ์ความรู้สึกและความทรงจำชาตินิยมแบบทหารของคณะราษฎรสายทหาร
— เกรียงศักดิ์ เชษฐพัฒนวนิช
"แม้ว่าเป็นที่ชัดเจนว่า บทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตนั้น เป็นบทละครที่แต่งขึ้นจากฐานความคิดแบบชาตินิยม โดยมีเป้าหมายเพื่อปลุกให้คนไทยรักชาติ แต่การพิจารณาเช่นนี้ยังอาจไม่ทำให้เข้าใจบทละครประวัติศาสตร์ของหลวงวิจิตรวาทการได้ดีพอ"
https://bit.ly/3ehXqQ5
============
7. ภาวะผู้นำการเมืองของพระยาพหลพลพยุหเสนา
— กษิระ ศรีเจริญ
"พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการราษฎร หรือที่เรียกกันวว่า 'นายกรัฐมนตรี' ในปัจจุบันเป็นคนแรก โดยที่กลุ่มคณะราษฎรก็หวังว่าพระยามโนปกรณ์นิติธาดาจะเป็นตัวกลางที่เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผู้ปกครองระบอบเก่ากับกลุ่มคณะราษฎร"
https://bit.ly/2Zd63XK
============
8. ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับการเมืองไทย พ.ศ. 2475-2526
— มรกต เจวจินดา
"นายปรีดี พนมยงค์ผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ และหมดอำนาจทางการเมืองในปี ๒๔๙๒
เป็นผู้นำทางการเมืองที่มีเรื่องราวเป็นเสมือนตำนานทางการเมืองที่แตกต่างไปจากผู้นำทางการเมืองคนอื่น ๆ"
https://bit.ly/3efTM9o
============
9. คณะราษฎรกับการเปลี่ยนแปลงด้านกฎหมาย
— วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (หน้า 21-38)
"คณะราษฎรนั้นมีคุณูปการอย่างสูง...ได้วางโครงหลักของการจัดการการปกครองที่มีลักษณะเป็นสากล และเป็นอารยะเอาไว้ แม้ว่าจะยังไม่มีความสมบูรณ์ แต่ความไม่สมบูรณ์นี้เป็นภารกิจของคนในยุคสมัยถัดมา ที่จะเติมเต็มอุดมการณ์นิติรัฐประชาธิปไตยให้สมบูรณ์"
https://bit.ly/3eaMT9b
============
10. ความหมายทางการเมืองและความล้มเหลวของการสื่อความในงานสถาปัตยกรรมคณะราษฎร
— โดม ไกรปกรณ์ และ ธนสิษฐ์ ขุนทองพันธ์
"สถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นในช่วงพ.ศ. 2475-2490 จํานวนไม่น้อยถูกสร้างขึ้นโดยมีนัยถึงแนวคิด “ความเป็นไทย/ชาติไทย” ของคณะราษฎร"
https://bit.ly/3frHyM4
============
// Bonus - 1. การปฏิวัติ 2475 กับ การปฏิวัติรสชาติอาหาร //
2475 กับการปฏิวัติรสชาติอาหาร : จากกินเพื่ออยู่สู่กินเพื่อชาติ และการต่อสู้ทางวัฒนธรรมของรสชาติในสังคมไทยร่วมสมัย
— ชาติชาย มุกสง (หน้า 155-213)
"ระบอบการเมืองใหม่ได้ให้ความสนใจกับการสร้างคุณภาพของประชากรเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศ โดยพยายามโยงให้เกิดการปฏิวัติด้านอาหารการกินของประชาชนขึ้นด้วย
หลังจากปฏิวัติทางการเมืองการปกครองสำเร็จแล้ว เนื่องจากความเจริญของประเทศในแผนการปกครองใหม่ต้องการกำลังคนที่แข็งแรงจากการกินอาหารที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน"
// Bonus - 2. บทสัมภาษณ์ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส //
4 'จุดอ่อน' คณะราษฎรในความเห็นปรีดี พนมยงค์
— BBC News ไทย
บทสัมภาษณ์ นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส ที่ออกอากาศทางวิทยุบีบีซีไทย เมื่อปี พ.ศ. 2525 ในโอกาสครบรอบ 50 ปี การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
คลิกเข้าชม YouTube สำนักพิมพ์สมมติ
==============================
สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการว่าด้วยวิวัฒนาการของการเมืองทั้งไทยและเทศ ไปจนถึงคอนเซ็ปต์ของรัฐ สังคม และการเมือง
ขอแนะนำหนังสือ แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ บทวิเคราะห์การเมืองและประชาธิปไตยสยามไทยในระยะเปลี่ยนผ่าน โดย ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
และแนะนำชุดหนังสือสำหรับผู้รักประชาธิปไตย
// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน //
==============================
บทความที่คุณน่าจะชอบ
/ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
/ สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /
==================
Order NOW - คลิกสั่งซื้อที่รูป -
เสื้อยืดสำหรับราษฎรทั้งหลาย
1. เสื้อศรัทธา
2. เสื้อยืดสังคมไทย (ข้อเขียนของวัฒน์ วรรลยางกูร)
==================
พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่จัดชุดหนังสืออย่างพิถีพิถัน มากกว่า 40 ชุด จากหนังสือกว่า 100 ปก ในราคาสุดพิเศษ
โปรดอย่ารอช้า หนังสือบางเล่มเหลือจำนวนจำกัด
หนังสือดี! ราคาโดน! ที่ผู้อ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!!!
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/category/3755/special-set
17 ก.ค. 2563
14 เม.ย 2564