Last updated: 18 ธ.ค. 2567 | 4456 จำนวนผู้เข้าชม |
What is more important to you, privacy or security?
- ระบอบเสรีประชาธิปไตยจะสร้างความสมดุลระหว่าง 'เสรีภาพ' และ 'ความมั่นคง' ได้อย่างไร?
- ทำอย่างไรถึงจะปฏิบัติต่อบุคคลที่ถือว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างยุติธรรม (fairness)?
- ระหว่างความมั่นคงและเสรีภาพ มวลสมาชิกในรัฐต้องเลือกว่าจะรักษาอะไรไว้?
ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเลือกเอาแบบใดแบบหนึ่ง เมื่อมีการเลือกเกิดขึ้น ฝ่ายเลือกเสรีภาพจะต้องอดกลั้นต่อพวกที่เลือกความมั่นคงหรือไม่? และในทางกลับกัน? แล้วฝ่ายอื่นๆ ต้องอดกลั้นต่อทั้งสองฝ่ายหรือไม่? ใครจะต้องอดกลั้นต่อใคร?
สำหรับคำถามเรื่องความมั่นคงและเสรีภาพ มวลสมาชิกในรัฐก็เป็นกรอบคิดและตรรกะที่ชัดเจนจากมุมมองของรัฐว่า ความมั่นคงของรัฐประชาชาติเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน ทั้งที่ตรรกะของความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ย่อมไม่ต้องการให้มีคุณค่าอะไรที่สูงสุดเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะในท้ายที่สุดแล้ว มวลสมาชิกในประเทศก็จะต้อง ‘สละเลือดทุกหยาดเพื่อชาติพลี’ แต่ถึงความมั่นคงจะสำคัญแค่ไหน ก็ใช่ว่าจะกระทำหรืออ้างกันได้อย่างพร่ำเพรื่อ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการควบคุมด้วยการออกกฎควบคุมสิ่งที่กระทำกันในนาม ‘สภาวะฉุกเฉิน’ เสียก่อน ทั้งนี้ก็เพื่อทำให้สถานการณ์ดำเนินไปอย่างไม่ไร้ทิศทาง
ตัวอย่างที่กล่าวมาข้างต้นชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่มีคุณค่าในกรอบของเสรีนิยมที่ขัดแย้งกัน ครั้นเมื่อมีฝ่ายใดที่ไม่เข้าใจร่วมกันหรือไม่มีฉันทานุมัติ ก็ย่อมทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างกลับไปสู่จุดเริ่มต้นใหม่ของความขัดแย้ง รากฐานของเสรีนิยมจึงเต็มไปด้วยการคิดกันไปเองว่า ความสัมพันธ์ทางสังคมนั้นตั้งอยู่บนรากฐานอะไรบางอย่างร่วมกัน ทุกคนต่างเข้าใจอะไรต่างๆ เหมือนกัน เช่น ทุกคนเข้าใจในภาษาไทยว่าน้ำคืออะไร ในภาษาอังกฤษคือ Water
มวลสมาชิกในรัฐก็เป็นกรอบคิดและตรรกะที่ชัดเจนจากมุมมองของรัฐว่า ความมั่นคงของรัฐประชาชาติเป็นสิ่งที่ต้องมาก่อน ทั้งที่ตรรกะของความหลากหลายทางวัฒนธรรมก็ย่อมไม่ต้องการให้มีคุณค่าอะไรที่สูงสุดเพียงอย่างหนึ่งอย่างใด
ขณะที่การแปลสิ่งที่มีคุณค่าทางสังคมกลับทำได้ไม่ง่ายเหมือนการแปล Water = น้ำ แต่เป็นอะไรที่ซับซ้อนขึ้นไปอีก เช่น ความเกรงใจ จะใช้คำว่า Consideration ได้หรือไม่? เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีสิ่งที่มีคุณค่าอื่นๆ อีกมากมายที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ง่ายๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้ามระบบคิด วัฒนธรรม และศาสนา เช่น พระเจ้า นิพพาน เป็นต้น
นอกเหนือไปจากนี้ วัตถุและสิ่งมีค่าทางวัฒนธรรมก็ล้วนแต่ต้องการการตีความ เช่น การตีความคัมภีร์ เป็นต้น ครั้นเมื่อการตีความที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ เช่น การตีความทางกฎหมาย การจัดสรรประโยชน์ที่ถูกกำหนดด้วยความหมายทางวัฒนธรรมจึงเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก โดยที่ยังไม่ต้องพิจารณาว่าผลประโยชน์กำหนดการตีความอย่างไร ในความเป็นจริงของความหลากหลายทางวัฒนธรรมแล้ว ความเข้าใจร่วมกันก็พร้อมเสมอที่จะเป็นความเข้าใจผิดร่วมกัน สิ่งที่จำเป็นสำหรับสถานการณ์แบบนี้ก็คือ ความอดกลั้น
ในท้ายที่สุดแล้ว มวลสมาชิกในประเทศก็จะต้อง ‘สละเลือดทุกหยาดเพื่อชาติพลี’ แต่ถึงความมั่นคงจะสำคัญแค่ไหน ก็ใช่ว่าจะกระทำหรืออ้างกันได้อย่างพร่ำเพรื่อ
==========
ความอดกลั้นทำให้ทั้งสองฝ่ายต่างได้คิด ได้ไตร่ตรอง และยอมรับว่ามีผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งสองฝ่ายจึงพยายามควบคุมตนเองไม่ให้ทำร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ด้วยความเท่าเทียมกัน ต่างฝ่ายต่างก็มีศักยภาพที่จะทำลายล้างได้อย่างเท่าเทียมกัน ความเสียหายย่อยยับจึงเป็นของทั้งคู่ ในกรณีนี้ ทั้งสองฝ่ายจึงต้องเคารพซึ่งกันและกัน เพราะถ้าไม่เคารพซึ่งกันและกัน หรือแม้กระทั่งแค่เกรงกลัวซึ่งกันและกัน โอกาสเกิดสงครามและการจลาจลย่อมเป็นไปได้ การเคารพกันด้วยอำนาจที่เท่าเทียมกันนั้นไม่ต้องเป็นเรื่องของความอดกลั้นเสมอไป แต่เหตุหรือส่วนสำคัญกลับเป็นเรื่องของความกลัวกับความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้น
ในแง่นี้ สภาวะของความอดกลั้นที่ยังเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเกิดสันติภาพจึงเป็นสภาวะที่ให้ประโยชน์กับทุกๆ ฝ่าย ความอดกลั้นในระหว่างฝ่ายที่เท่าเทียมกันจึงไม่ใช่คุณธรรมล้วนๆ แม้ว่าความอดกลั้นจะเป็นสิ่งที่มีความหมายในเชิงบวกหรือเป็นสิ่งที่ดี นอกจากนั้น ในระหว่างคนที่เท่าเทียมกัน ความอดกลั้นดูจะไม่ใช่กลไกสำคัญในการนำมาซึ่งสันติภาพ แต่สิ่งที่นำมาซึ่งสันติภาพและความสงบสุขก็คือความเท่าเทียมกันในอำนาจต่างหาก ที่ค้ำประกันความหายนะของกันและกันจนทำให้เกิดเป็นสันติภาพดังจะเห็นได้จากกรอบคิดของการเมืองด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
การเคารพกันด้วยอำนาจที่เท่าเทียมกันนั้นไม่ต้องเป็นเรื่องของความอดกลั้นเสมอไป แต่เหตุหรือส่วนสำคัญกลับเป็นเรื่องของความกลัวกับความหายนะที่อาจจะเกิดขึ้น
ภายใต้เงื่อนไขของหายนะที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน สภาวะของความอดกลั้นจึงกลับกลายเป็นเรื่องที่เลือกไม่ได้ ยกเว้นแต่ว่าจะยอมรับสภาวะของสงครามและความตายเข้ามาเป็นหนึ่งในทางเลือก ดังนั้นในอีกด้านหนึ่ง สังคมหนึ่งๆ เมื่อมีประสบการณ์จากการฆ่าฟันกันมากพอแล้ว จึงตัดสินใจใช้ความอดกลั้นเป็นวิถีทางในการอยู่ร่วมกัน ในแง่นี้จึงทำให้ความอดกลั้นกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับพหุสังคม (pluralistic society) และสังคมเสรีประชาธิปไตยที่วางอยู่บนรากฐานของการมี Rationality โดยเฉพาะในรูปแบบที่ได้ย้ำมาตลอดในบทความนี้ก็คือ การคาดคำนวณผลได้ผลเสีย แต่ถ้ามีผลได้ผลเสียอย่างชัดเจนแล้ว โอกาสเกิดความอดกลั้นจะเป็นไปได้แค่ไหน เพราะอย่างน้อย ความอดกลั้นก็ย่อมขัดขวางและยับยั้งไม่ให้ความต้องการอะไรบางอย่างเกิดขึ้น
ความอดกลั้นกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับพหุสังคม (pluralistic society) และสังคมเสรี-ประชาธิปไตยที่วางอยู่บนรากฐานของการมี Rationality
.
.
.
เมื่อต้องยอมอดกลั้นด้วยความเจ็บปวด ดังนั้นทำอย่างไรถึงจะทำให้ความอดกลั้นปราศจากความเจ็บปวด? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมที่ไม่มีความอดกลั้น เมื่อใครสักคนหนึ่งมีความอดกลั้นท่ามกลางความไม่อดกลั้น ในสังคมที่ไม่มีความเท่าเทียมกัน ความอดกลั้นของคนคนหนึ่งจึงเป็นสภาวะของความโดดเดี่ยว และในสังคมที่ไร้ความอดกลั้นก็เป็นเช่นเดียวกันกับกิจกรรมแบบอื่นๆ ที่เมื่อมีผู้ปฏิบัติน้อยหรือปฏิบัติอยู่คนเดียว บุคคลที่มีความอดกลั้นก็กลายเป็น ‘คนหลงฝูง’ เพราะอย่างน้อย บุคคลผู้ ‘หลงฝูง’ ก็จำเป็นต้องปฏิเสธไม่ยอมรับการกระทำใดๆ ที่ทำร้ายหรือเป็นอันตรายต่อผู้อื่นที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างกันออกไป
ขณะเดียวกัน การกระทำของบุคคลผู้นั้นก็ทำให้เขาแตกต่างและแปลกแยกจากวัฒนธรรมของตนที่กลับไม่มีความอดกลั้นให้ นอกจากนั้น สถานะของบุคคลที่ปฏิบัติความอดกลั้นก็ยังมีความสำคัญ เพราะในสังคมที่ผู้คนไม่มีความอดกลั้นก็มักเปิดโอกาสให้คนอื่นๆ ที่ไม่อดกลั้นกระทำอันตรายแก่คนที่มีสถานะทางสังคมต่ำต้อยกว่า
==============================
อ่านเพิ่มเติมได้ใน ว่าด้วยความไม่หลากหลายทางวัฒนธรรม
ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม
ธเนศ วงศ์ยานนาวา : เขียน
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
วรัญญา ฉัตรนิธิกุล : ออกแบบปก
ความหนา : 248 หน้า
ISBN: 9786167196404
==================
สนใจสั่งซื้อ Set รวมงานธเนศ วงศ์ยานนาวา
ในราคาพิเศษสุด
14 เม.ย 2564
17 ก.ค. 2563