Last updated: 30 พ.ค. 2563 | 3314 จำนวนผู้เข้าชม |
ระหว่างพักอาศัยอยู่ที่มิวนิค โธมัส มันน์ (Thomas Mann) ได้เห็นความน่ากลัวของฮิตเลอร์ในช่วงเวลาที่พรรคฝ่ายขวาได้รับคะแนนนิยมสูงขึ้น ก่อนที่ฮิตเลอร์จะขึ้นมามีอำนาจ เขาเขียนเรื่องสั้นเรื่องหนึ่งชื่อ มาริโอกับนักมายากล
ทำไมถึงควรอ่าน ‘มาริโอกับนักมายากล’?
เรื่องสั้นนี้เล่าเรื่องราวของครอบครัวหนึ่งที่ไปเที่ยวพักร้อนในอิตาลี และได้พบเจอกับประสบการณ์พิลึกพิลั่น ไม่ว่าจะเป็นความคลั่งชาติของชาวอิตาลี หรือโชว์มายากลของชิปอลล่า นักมายากลตัวร้ายในเรื่อง
โธมัส มันน์ เขียนเรื่องสั้นเรื่องนี้โดยอิงเหตุการณ์ส่วนหนึ่งในเรื่องจากประสบการณ์จริงของเขาในอิตาลี เช่น มันน์นำสิ่งที่เกิดขึ้นกับลูกสาวของเขาที่ถูกต่อว่าเพราะเปลือยกายเล่นน้ำทะเล เพื่อชี้ให้เห็นความเสียสติของลัทธิชาตินิยม นอกจากนี้ มันน์ยังได้รับแรงบันดาลใจเรื่องกลไกการควบคุมของผู้มีอำนาจจากการศึกษาเรื่องการสะกดจิตของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ อีกด้วย
ศิลปะในฐานะเครื่องมือของผู้มีอำนาจ
ในฐานะนักเขียนผู้ใช้ชีวิตอยู่ในช่วงที่พรรคการเมืองฝ่ายขวาขึ้นมามีอำนาจ โธมัส มันน์ เล็งเห็นถึงอันตรายของฮิตเลอร์ โดยจะเห็นได้จากบทความหนึ่งของมันน์ที่ชื่อ ‘My Brother Hitler’ มันน์กล่าวว่า ฮิตเลอร์เป็นผู้ที่ ‘ใช้ศิลปะในทางที่ชั่วร้าย’ กล่าวคือ ฮิตเลอร์ใช้วาทศิลป์เพื่อลวงหลอกประชาชนให้หลงเชื่ออุดมการณ์ทางการเมืองของนาซี โดยมุมมองนี้สะท้อนออกมาผ่านเรื่อง มาริโอกับนักมายากล ซึ่งมันน์ตั้งใจเขียนเพื่อเป็นเครื่องเตือนสติผู้อ่านถึงอันตรายของฮิตเลอร์นั่นเอง
อาจมองได้ว่า เรื่องสั้นเรื่องนี้เปรียบเทียบเผด็จการในฐานะนักมายากลที่ตบตาและสะกดจิตประชาชน ผ่านตัวละครนักมายากลชิปอลล่า โดยการสะกดจิตดังกล่าวถูกทำให้ดูอันตรายน้อยลงเมื่อนำเสนอในรูปแบบของศิลปะ ในรูปของโชว์มายากล ผ่านความงามทางสุนทรียะที่ครอบมายากลเอาไว้ (เหมือนที่ฮิตเลอร์ใช้วาทศิลป์ในการโน้มน้าวจิตใจชาวเยอรมันนั่นเอง)
อันตรายจากการถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจ
เรื่องสั้นมาริโอกับนักมายากล นำเสนอประเด็นเรื่องของความอันตรายจากการถูกครอบงำโดยผู้มีอำนาจ โดยนำเสนอผ่านโชว์มายากลของชิปอลล่าและผู้ชมที่ตกอยู่ใต้การควบคุมของเขา มันน์เปรียบเทียบการถูกสะกดจิตเป็นเหมือนกับการสูญเสียอิสรภาพ
อาจกล่าวได้ว่า มันน์ต้องการให้เรื่องสั้นเรื่องนี้เป็นเครื่องเตือนใจทางการเมืองแก่ผู้ที่กำลังจะสูญเสียอิสรภาพให้กับเผด็จการ นอกจากนี้ เรื่องสั้นเรื่องนี้ยังได้ตั้งคำถามถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ของเจตจำนงเสรีภายใต้อำนาจของเผด็จการอีกด้วย ผ่านตัวละครของมาริโอที่ลุกขึ้นมาต่อต้านการควบคุมของชิปอลล่านั่นเอง
ชี้ให้เห็นความเฉยชาของผู้คน
นอกจากประเด็นเรื่องการสูญเสียอิสรภาพภายใต้การปกครองของเผด็จการแล้ว มาริโอกับนักมายากลยังนำเสนอประเด็นเรื่องความเฉยชาของผู้ที่ไม่ได้รับความเดือดร้อนจากการใช้อำนาจของเผด็จการ โดยนำเสนอผ่านของกลุ่มผู้ชมมายากลชนชั้นสูงในเรื่องที่ไม่รู้สึกเดือดร้อนจากโชว์มายากลของชิปอลล่า เนื่องจากชิปอลล่าเริ่มการสะกดจิตจากกลุ่มผู้ชมชนชั้นล่างก่อน
โดยในตอนท้ายนั้นกลุ่มผู้ชมชั้นสูงก็ได้รับผลกระทบจากการสะกดจิตเช่นเดียวกัน ในแง่นี้จึงกล่าวได้ว่า มาริโอกับนักมายากลเผยให้เห็นกลไกการควบคุมของเผด็จการ ที่อาศัยความเฉยชาของผู้ไม่ได้รับความเดือดร้อนนั่นเอง
นำเสนอปัญหาทางศีลธรรมของผู้ถูกปกครอง
ผศ.ดร.อารตี แก้วสัมฤทธิ์ ผู้แปลหนังสือ มาริโอกับนักมายากล มองว่า เรื่องสั้นเรื่องนี้นำเสนอประเด็นของปัญหาทางศีลธรรมที่ใกล้ตัวผู้อ่านทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นการตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพ การไม่นิ่งเฉยต่ออำนาจของผู้ปกครอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรับผิดชอบทางศีลธรรมของประชาชนที่อยู่ภายใต้ระบอบการปกครองที่ไม่ชอบธรรม จึงกล่าวได้ว่า หนังสือเรื่องนี้พยายามกระตุ้นจิตสำนึกทางศีลธรรมของผู้อ่านนั่นเอง
การควบคุมของนักมายากลสะท้อนการเมืองไทย
สำหรับคำถามที่ว่า ทำไมถึงควรอ่าน ‘มาริโอกับนักมายากล’ ทางด้านของ ภาณุ ตรัยเวช ผู้เขียนหนังสือ ‘ในสาธารณรัฐไวมาร์ ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง’ ได้ให้คำตอบว่า
"ผู้อ่านสามารถอ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ในเชิงของ ‘อุปมาอุปไมยที่ตรงกับสถานการณ์การเมืองไทย’ โดยมีเผด็จการที่เป็นนักมายากลคอยควบคุมผู้ชมหรือประชาชนในประเทศ และมีกลุ่มผู้ชมซึ่งไม่ได้รับความเดือดร้อนที่ยังคงเฉยชากับความไม่ชอบธรรม หนังสือเล่มนี้จึงช่วยสะท้อนภาพของการเมืองไทยได้อย่างน่าตระหนก"
=====
สัมผัสเรื่องสั้นเยอรมันชั้นเยี่ยมเรื่องนี้ด้วยตัวคุณเอง
คลิกสั่งซื้อ มาริโอกับนักมายากล (Mario and the Magician)
ราคาพิเศษเหลือ 120 บาท (จาก 150)
หรือสนใจ Special Edition ไม่ว่างจำหน่ายตามร้านหนังสือทั่วไป
คลิกสั่งซื้อ มาริโอกับนักมายากล Special Edition
17 ก.ค. 2563
14 เม.ย 2564