Last updated: 26 ก.ย. 2565 | 7727 จำนวนผู้เข้าชม |
หากพูดถึง เอฟ.สก็อต ฟิตช์เจอรัลด์ (F.Scott Fitzgerald) นักเขียนอเมริกาแห่งศตวรรษที่ 20 แล้วล่ะก็ เชื่อว่าทุกคนต้องรู้จักกับงานสุดหรูหราอย่างเรื่อง รักเธอสุดที่รัก หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ The Great Gatsby แน่นอน
ซึ่งในช่วงเวลาศตวรรษที่ 20 นั้นอเมริกาได้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรม หรือแม้กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 1 งานเขียนเองก็เช่นเดียวกัน
ฟิตซ์เจอรัลด์เป็นอีกหนึ่งนักเขียนในยุคหลังสงครามที่งานเขียนออกแนวสไตล์อเมริกันดรีม (American Dreams) หรือก็คือโลกในอุดมคติ ทุกคนตั้งใจทำงานเพื่อให้มีชีวิตที่ดีขึ้น ร่ำรวย จัดงานปาร์ตี้ทุกวัน มีรถขับ เหมือนอย่างที่ เจมส์ ทรัสโลว์ อดัมส์ นักประวัติศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า “อเมริกันดรีมคือความฝันถึงแผ่นดินที่ทุกคนจะมีชีวิตที่ดีขึ้น เติมเต็มยิ่งขึ้น และร่ำรวยยิ่งขึ้น รวมไปถึงเรื่องระเบียบของสังคมที่ทั้งหญิงและชายจะได้รับการยอมรับตัวตน ไม่ว่าผู้นั้นจะมีชาติกำเนิดเช่นไร” ความหรูหราฟุ่มเฟือยนี้เองที่ปรากฏในงานของฟิตซ์เจอรัลด์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่ผลสุดท้ายชีวิตหรูหราเช่นนี้ก็หายไปราวกับความฝัน
ถ้าไม่นับเรื่องยาวอย่าง The Great Gatsby ที่เล่าชีวิตของ เจย์ แกตสบี้ ชายผู้จู่ๆ ก็กลายเป็นคนร่ำรวย ใครๆ ก็รู้จักจากการทำงานบางอย่างของเขาที่เหมือนตอบโจทย์สไตล์อเมริกันดรีมแล้ว ก็ยังมีอีกหนึ่งเรื่องสั้นที่เล่าให้เห็นชีวิตที่ผ่านมาเป็นดั่งความฝันจนต้องมุ่งมั่นตั้งเป้าหมายฝันให้ชีวิตดีขึ้นหรือกลับเป็นเหมือนเดิมอย่างเรื่อง หวนคืนสู่บาบิลอน (Babylon Revisited) เรื่องราวของชายหนุ่มชาร์ลี เมื่อชีวิตที่เคยร่ำรวยของเข้าต้องดับสูญ จนต้องไปฝากลูกสาวไว้กับญาติ และพยายามตั้งใจมุ่งมั่นเพื่อให้ลูกสาวของตนมีชีวิตที่ดีดั่งเดิม เรื่องนี้มีการถากถางเย้ยหยันโลกอย่างข้อความที่ว่า
"วันคืนเหล่านั้นผ่านเข้ามาในความทรงจำของเขาอีก ครั้งหนึ่งเหมือนฝันร้าย — ภาพผู้ชายที่ล็อกประตูบ้านทิ้งให้ภรรยาต้องตากหิมะอยู่ข้างนอก เพราะหิมะในปีสองเก้าไม่ใช่หิมะจริง ๆ ถ้าคุณไม่อยากให้มันเป็นหิมะคุณแค่จ่ายเงิน มันก็จะไม่เป็นหิมะ" นอกจากในข้อความนี้จะใส่บทแดกดัน แฝงน้ำเสียงขมขื่นของทั้งชาร์ลีและฟิตซ์เจอรัลด์แล้ว ยังใส่รูปลักษณ์ความร่ำรวยอย่างถ้ามีเงินก็จะสามารถดลบันดาลทุกอย่างให้เป็นจริงได้อีกด้วย
และเป็นที่แน่นอนว่าเขาไม่ลืมที่จะใส่ความเป็นอเมริกันดรีมเข้าไปด้วยอย่างตอนที่ชาร์ลีกล่าวกับแมเรียนว่า "ผมได้บทเรียนแล้ว คุณรู้ไหม ผมทำงานหนักอยู่เป็นสิบปีจนกระทั่งมีโชคได้ร่ำรวยจากตลาดหุ้น ก็เหมือนกับคนอื่น ๆ อีกมากมายน่ะครับที่โชคดีอย่างไม่น่าเชื่อ พอมีเงิน ผมไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำงาน ก็เลยเลิกทำงาน" หรือฉากที่ชาร์ลีเริ่มฟื้นตัวมีเงินทองใช้ก็เกิดความคิดวาดฝันถึงอนาคตให้ออเนอเรีย ลูกสาวกับตัวเองเป็นการใหญ่
งานเขียนในศตวรรษที่ 20 ส่วนใหญ่จะเขียนให้เห็นถึงการเติบโตเปลี่ยนแปลงของอเมริกา ทั้งเชื่อชาติ เพศ แนวคิด ความไม่เท่าเทียมทางสังคม ซึ่งแน่นอนงานเขียนของฟิตซ์เจอรัลด์ก็แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทั้งแนวคิดและความฝันสูงสุดของคนอเมริกาในสมัยเช่นเดียวกัน แต่นั้นก็ต้องทำใจไว้ครึ่งหนึ่งด้วย เพราะบางเรื่องอาจไม่ได้จบสวยหรูเสมอไป มีขึ้นก็ต้องมีลง ตามสไตล์ฟิตซ์เจอรัลด์
==========
เรื่องสั้นฉบับแปลภาษาไทย 3 เรื่องสำคัญของฟิตซ์เจอรัลด์ รวบรวมไว้ใน 'หวนคืนสู่บาบิลอน และเรื่องสั้นอื่นๆ' (Babylon Revisited and Other Stories)
'Winter Dreams' หรือ ความฝันในฤดูหนาว - เรื่องเกี่ยวกับ 'ความหมกมุ่นในเงินตรา' และมีตัวละครคล้ายกับในเรื่อง The Great Gatsby เป็นอย่างมาก
'The Ice Palace' หรือ ปราสาทน้ำแข็ง - พบกับการลุ่มหลงในความฝันแบบอเมริกัน ควบคู่ไปกับการล่มสลายของชีวิตยุคแจ๊ซ (Jazz Age)
'Babylon Revisited' หรือ หวนคืนสู่บาบิลอน - ผลงานที่ได้รับเสียงชื่นชมเมื่อฟิตซ์เจอรัลด์เสียชีวิต เป็นเรื่องสั้นที่นำเสนอห้วงชีวิตซึ่งผ่านพ้นช่วงวัยอันรุ่งโรจน์ สุดท้ายพบกับความขมขื่นเมื่อชีวิตต้องพังพินาศหลังผ่านยุครุ่งเรือง
คลิกสั่งซื้อ หวนคืนสู่บาบิลอน และเรื่องสั้นอื่นๆ (Babylon Revisited and Other Stories)
14 เม.ย 2564
17 ก.ค. 2563