Last updated: 28 ม.ค. 2565 | 2848 จำนวนผู้เข้าชม |
เป็นที่รู้กันว่า ปัจจุบัน นอกจากความไพเราะของท่วงทำนอง แนวเพลงต่างๆ จากหลากหลายศิลปินล้วนสอดแทรก 'เนื้อหา' และ 'นัยยะ' ทางการเมืองไว้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น แร็พ ร็อค ฮิปฮอป ฯลฯ อย่างที่พอจะเคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง
แต่วันนี้ เราจะพาไปทำความรู้จัก เพลงต่อต้านอำนาจรัฐ ในอีกรูปแบบ แบบที่ใครก็อาจคาดไม่ถึง อีกทั้งยังมีมาก่อนเนิ่นนาน เพราะการต่อต้านนี้ถูกถ่ายทอดผ่านดนตรีไทย ใช่!!! ดนตรีไทยเดิมที่ไร้คำร้อง แต่แค่ท่วงทำนอง ก็ทำให้รัฐต้องหยุดฟัง
แสนคำนึง: บทเพลงต้านอำนาจรัฐ
ดนตรีไทยมีเพลงอยู่เพลงหนึ่งซึ่งเป็นที่รับรู้กัน (ในอดีต) ว่าเป็นเพลงต่อต้านรัฐ (ซึ่งในขณะนั้นคือรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม) บทเพลงนั้นคือ แสนคำนึง ของหลวงประดิษฐไพเราะ
การเถลิงอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงครามดำเนินนโยบายสร้างชาติด้วยการปลุกกระแสชาตินิยม แต่ในขณะเดียวกัน ก็ต้องการก้าวไปสู่ความเป็นสากล
ส่วนหนึ่งของนโยบายเป็นวิธีคิดที่สืบทอดมาจากอุดมการณ์ของคณะราษฎรไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดการระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตัดตัวอักษรบางตัวในภาษาไทยทิ้ง ซึ่งกหลายคนมักกล่าวหาว่าเป็นการทำให้ภาษาไทยวิบัติ ทั้งที่การกระทำเช่นนั้น นับเป็นความคิดที่ก้าวหน้ามาก เพราะการทำลายอักษรหลายๆ ตัว อันทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของคำบางประเภทที่อิงอยู่กับภาษาบาลี – สันสกฤตลดลง รวมถึงสรรพนามที่บังคับให้เปลี่ยนมาใช้เพียง ‘ฉัน - เธอ’ นั้น เป็นการทำลายลำดับชั้นทางภาษา
จอมพล ป. พิบูลสงครามได้ออกประกาศรัฐนิยมจำนวนหนึ่งในช่วงหลังปี พ.ศ. 2485 ทั้งห้ามกินหมาก บังคับให้แต่งชุดสากล และห้ามเล่นดนตรีไทย ซึ่งสันนิษฐานว่าสาเหตุหนึ่งที่ต้องห้ามเล่นดนตรีไทยก็เพราะว่ามันไม่ ‘ไทย’ จริงๆ นั่นเอง เห็นได้จาก ‘ชื่อเพลง’ จำนวนมากที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า พม่าบ้าง เขมรบ้าง ลาวบ้าง อย่างเพลง พม่าเขว เขมรไทรโยค และลาวดวงเดือน เป็นต้น..,
มีตำนานเล่าว่า หลวงประดิษฐไพเราะรู้สึกเศร้าสร้อยน้อยใจจากการที่ดนตรีไทยถูกเหยียบย่ำและดูถูก จึงได้แต่งเพลง แสนคำนึง ขึ้นมา โดยมีเนื้อเพลงบรรยายความเจ็บแค้นและวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของจอมพล ป. อย่างเผ็ดร้อนรุนแรง แรงเสียจนบุตรสาวของท่านคือ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ต้องนำไปฉีกทิ้งเพราะเกรงว่าจะเป็นภัยต่อครอบครัว
ผลปรากฏว่า ปัจจุบัน เพลงเพลงนี้เป็นที่รับรู้กันว่ามีเนื้อร้องไปในทางต่อต้านรัฐอย่างรุนแรง แต่กลับไม่มีใครรู้ว่าร้องอย่างไร และไม่มีใครเคยเห็นบทร้องที่ว่า สิ่งเดียวที่สร้างความหมายให้งานชิ้นนี้เป็นงาน ‘ต่อต้านรัฐ’ ก็คือชื่อของเพลงนั่นเอง
คลิกฟัง แสนคำนึง Version ภาพยนตร์โหมโรง
. .. ,
บางส่วนจาก 'Untitled no.x' ใน เสียงของความเปลี่ยนแปลง โดย อติภพ ภัทรเดชไพศาล
เปิดภาพสะท้อนการเมือง สังคม และวัฒนธรรมผ่านโลกของดนตรี
สั่งซื้อ 'เสียงของความเปลี่ยนแปลง' ได้แล้ววันนี้
พิเศษ อ่านสนุกและครอบคลุมยิ่งขึ้น ด้วยชุดหนังสือที่ว่าด้วย ศิลปะ ดนตรี สถาปัตยกรรม ในแง่มุมของมนุษย์ วัฒนธรรม และรัฐ กับชุดหนังสือ Set 6 เล่ม เด็กอาร์ตต้องอ่าน
17 ก.ค. 2563
14 เม.ย 2564