Last updated: 9 ก.ค. 2563 | 3024 จำนวนผู้เข้าชม |
KEYNOTE
==========
สำหรับสภาวะสมัยใหม่ อนาคตมีความหวังเสมอ ความหวังจะเป็นจริงได้ก็ต้องอยู่ในมือของมนุษย์ เพราะจากมุมมองปัจจุบันย้อนไปสู่อดีตแล้ว ‘ความหวัง’ ในการมีความสุขอยู่ในมือของมนุษย์มาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นมือของผู้หญิงหรือผู้ชาย มือทำให้มนุษย์ผู้โดดเดี่ยวมีความสุขได้เสมอ เพียงแต่ด้วยพลังของเทคโนโลยี ปฏิบัติการในการนำความสุขมาให้ จะกลายเป็นเรื่องของหุ่นยนต์
สำหรับหุ่นยนต์ที่กล่าวถึงในที่นี้ หมายถึงหุ่นที่สามารถประกอบกิจกรรมหรือมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม (socially interactive robots) ได้เท่านั้น เช่น สามารถรับรู้อารมณ์ สามารถสื่อสารได้อย่างซับซ้อน หุ่นยนต์ที่ช่วยดูแลมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลคนป่วย คนแก่ ไปจนถึงการผ่าตัด หุ่นยนต์จึงไม่ได้อยู่แต่ในโรงงานแบบเดิม เช่นโรงงานผลิตรถยนต์อีกต่อไป หุ่นยนต์ที่มีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะหุ่นยนต์ทางสังคม (social robot) มีผลต่อมนุษย์ในรูปแบบต่างๆ อย่างมาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของหุ่นยนต์ทางสังคม
การพึ่งพาอาศัยหุ่นยนต์จะครอบคลุมวิถีชีวิตมนุษย์ เรื่องสำคัญพื้นๆ ของมนุษย์ที่จะพึ่งหุ่นยนต์ ก็คือการร่วมเพศกับหุ่นยนต์ โดยสายสัมพันธ์ระหว่างหุ่นยนต์กับมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ่นยนต์ที่เป็นนักฆ่า ไม่ว่าจะผ่านปฏิบัติการทางการทหารหรือไม่ก็ตาม จนถึงหุ่นยนต์ที่คิดได้เอง สิ่งนี้สร้างความหวาดกลัวและความวิตกจริตให้มนุษย์ สร้างความหวาดวิตกในเรื่องการฆ่าและความตาย หุ่นยนต์นักฆ่าแม้ว่าจะตอบสนองต่อประโยชน์ของคนบางกลุ่ม แต่กลับเป็นความหายนะของคนบางกลุ่ม หายนะที่อาจกล่าวได้ว่าเป็นหายนะของมนุษยชาติ นิยายวิทยาศาสตร์จึงแสดงภาพดังกล่าวให้กับมนุษย์เสมอ เช่น ภาพหุ่นยนต์จากภาพยนตร์ The Terminator (1984)
ในเรื่องของความสำราญ หุ่นยนต์สร้างความหวาดวิตกพื้นฐานให้กับมนุษย์ในเรื่องของการร่วมเพศ การร่วมเพศกับหุ่นยนต์เป็นกิจกรรมทางเพศที่สำคัญของมนุษย์ในศตวรรษนี้และศตวรรษต่อๆ ไป การใช้วัตถุเพื่อการร่วมเพศเป็นสิ่งที่อยู่กับมนุษย์มาเป็นเวลายาวนาน กล่าวได้ว่า วัสดุข้าวของเครื่องใช้ที่ถูกนำไปใช้ในกิจกรรมทางเพศเคียงคู่กับมนุษย์มาตลอดระยะเวลาทางประวัติศาสตร์ และย้อนกลับไปถึงช่วงก่อนประวัติศาสตร์ และด้วยพลังของเทคโนโลยี ทำให้การร่วมเพศกับวัตถุเพิ่มประสิทธิภาพมากขึ้นไปเรื่อยๆ เครื่องมือในการสั่น (vibrator) เพื่อให้ผู้หญิงถึงจุดสุดยอดทางเพศถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 เมื่อไฟฟ้ากลายเป็นพลังงานสำคัญ เครื่องสั่นไฟฟ้าจึงถูกพัฒนาขึ้นมาในต้นศตวรรษที่ 20
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทำให้ตุ๊กตายางมีความงดงามเสมือนจริงมากขึ้น การร่วมเพศกับตุ๊กตายางทำให้การร่วมเพศกับวัตถุเสมือนจริงยิ่งกว่าการร่วมเพศกับรูไม้ ในแง่มุมนี้ ศิลปะแห่งการเลียนแบบอันเป็นพื้นฐานสำคัญของการเป็นศิลปะตะวันตกหรือ ‘Mimesis’ เพิ่มประสิทธิภาพของการเลียนแบบที่เหมือนของจริงมากขึ้นไปเรื่อยๆ เพียงแต่ตุ๊กตายางเคลื่อนไหวไม่ได้ ทว่าหุ่นยนต์เคลื่อนไหว พูด และทำอะไรได้อีกหลายต่อหลายอย่างตามแต่พัฒนาการของข้อมูลที่บรรจุอยู่ในหน่วยความจำ ที่นับวันจะเพิ่มความซับซ้อนและความสามารถขึ้นไปเรื่อยๆ
หุ่นยนต์ทางเพศถูกจัดให้ตอบคำถามที่แสดงถึงความเป็นมนุษย์ เช่น ความฝัน ข้อมูลที่ใส่เข้าไปก็จะเพิ่มความประทับใจให้ผู้คนที่ใช้บริการจากหุ่นยนต์ประหนึ่งดูภาพยนตร์ฮอลลีวูด หุ่นยนต์ที่จะตอบสนองต่อมนุษย์ต้องการข้อมูลมากมายมหาศาล ระบบเทคโนโลยีด้านข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
หุ่นยนต์ที่มีข้อมูลมากพอที่จะปฏิบัติงานได้ภายใต้สถานการณ์ที่ปราศจากการควบคุม หรือสถานการณ์ที่ไม่มีใครคาดฝันว่าจะเกิดขึ้น บริษัทที่สร้างหุ่นยนต์นั้นฝันที่จะสร้างให้หุ่นยนต์เป็นเหมือนมนุษย์จริงๆ มีร่างกายจริงๆ มีความเข้าใจเรื่องของความรัก ดังนั้นเป้าหมายจึงไม่ได้อยู่แค่การตอบสนองความต้องการทางเพศด้านร่างกายเท่านั้น แต่มุ่งหวังไปสู่ระดับของอารมณ์ความรู้สึกและความเข้าอกเข้าใจ
ระดับของหุ่นยนต์จึงไม่ใช่เพียงแค่เครื่องจักร เพราะเครื่องจักรไม่ได้ต้องการเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ หุ่นยนต์จะสามารถมีบุคลิกภาพแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic personality) เพียงบุคคลอิเล็กทรอนิกส์นี้จะมีสายสัมพันธ์กับมนุษย์ในฐานะผู้รับใช้ ประเด็นคือ การเป็นผู้รับใช้หมายความถึงการรับใช้ในทุกเรื่องหรือไม่?
..,
บางส่วนจากบท "ความสุขทางเพศกับหุ่นยนต์"
อ่านเพิ่มเติมได้ในเล่ม ว่าด้วยเพศ: จากธรรมชาติ สู่จริยธรรม จนถึงสุนทรียะ และหุ่นยนต์ (On Sex)
============
ผลงานของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา ของสำนักพิมพ์สมมติเล่มอื่นๆ เข้มข้น ถึงแก่น และแสบทรวง
สนใจสั่งซื้อ Set รวมงานธเนศ วงศ์ยานนาวา ราคาสุดพิเศษ!!!
==================
ORDER NOW
ยกชุด 8 เล่มใหม่ล่าสุด!!! จากสำนักพิมพ์สมมติ จับจองเป็นเจ้าของหนังสือสุดสวยทั้ง 8 เล่มนี้ -- ในราคาพิเศษ
8 เล่มครบทุกชุดงาน ครบทุกอรรถรส (คลิกที่ชื่อเล่ม / ชื่อนักเขียน เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)
งานเลี้ยงของบาเบตต์ (Babette's Feast) - Isak Dinesen . ทู เดอะ ไลท์เฮาส์ (To the Lighthouse) - Virginia Woolf . ว่าด้วยศิลปะและชีวิต (On Art and Life) John Ruskin . ว่าด้วยประชาชน (On People) - ธเนศ วงศ์ยานนาวา . รยางค์และเงื้อมเงา - วิภาส ศรีทอง . ในปีที่ยี่สิบเจ็ด และเรื่องสั้นอื่นๆ - ชาคริต คำพิลานนท์ . 2559 รวมเรื่องสั้นในส่วนเสี้ยวของกาลเวลา - ศิวรัฐ หาญพานิช . จุลศักราช - รวิวาร
สั่งซื้อยกชุดในราคาพิเศษ คลิก https://bit.ly/3alEWMu