Last updated: 21 ส.ค. 2567 | 3940 จำนวนผู้เข้าชม |
[ตอนที่ 6]
สนพ.สมมติ ฉีกทุกกฎของการออกแบบปกหนังสือ ด้วยคำถามว่า ทำไม ‘ปกหน้า’ ถึงต้องเป็นปกหน้า แล้วทำไมข้อความทั้งหมดและบาร์โค้ตถึงต้องไปอยู่ ‘ปกหลัง’
┈ ┉ ┈
เราทดลองออกแบบปกใหม่อย่างจริงจังเพื่อเปลี่ยนการรับรู้ใหม่ สำหรับชุดงาน [วรรณกรรมในวงเล็บ]
โดยนำ ‘ปกหลัง’ มาเป็น ‘ปกหน้า’
และนำ ‘ปกหน้า’ ไปเป็น ‘ปกหลัง’
ดูสับสบย้อนแย้ง กลับหัวกลับหาง
┈ ┉ ┈
แต่เมื่อผลลัพธ์ออกมาแล้ว เรารู้สึกถึงเสน่ห์บางอย่างที่นับเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของทิศทางการออกแบบปกหนังสือ
┈ ┉ ┈
‘ปกหน้า’ แสดงตัวอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ทั้งชื่อเล่ม ชื่อผู้เขียน คำโปรย และบาร์โค้ดแสดงราคาและหมวดหมู่ พอมีครบถ้วน ก็ไม่จำเป็นต้องพลิกไปอ่านที่ปกหลัง
ส่วน ‘ปกหลัง’ ทำหน้าที่เหมือนงานศิลปะหนึ่งชิ้น ในการแสดงตัวเองโดยสะท้อนเนื้อหาของเล่ม ปล่อยพื้นที่โล่งให้ผู้อ่านมองอย่างไม่เปิดเผยนักผ่าน ‘Minimal Key Visual Icon’
เพียงคิดกลับไปกลับมา และทดลองทำอย่างสนุกมือ เราก็ได้เห็นการออกแบบปกในรูปแบบที่ต่างไป
┈ ┉ ┈
ผู้อ่านสมมติ ให้น้อยกว่านี้ไม่ได้
ชมวรรณกรรมในวงเล็บทั้งหมดได้ที่นี่
คลิก http://bit.ly/2WE3XjZ
============================
[ ย้อนกลับไปอ่าน ]
(บทนำ) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6361/duty-of-words
(ตอนที่ 1) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6475/2-rules-cover-design
(ตอนที่ 2) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6476/pain-and-passion
(ตอนที่ 3) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6477/fascinating-thai-lit
(ตอนที่ 4) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6502/books-worth-reading
(ตอนที่ 5) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6541/to-be-real-author
(ตอนที่ 7) คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/6644/on-thanes