Last updated: 20 ส.ค. 2564 | 13893 จำนวนผู้เข้าชม |
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระซ่อนเร้น'
หากคุณคิดว่า
- เราได้อำพรางซ่อนเร้น 'วาระที่แท้จริง' เพื่อผลประโยชน์
- ปิดบังความลับเพื่อความได้เปรียบบางอย่าง
คุณกำลังเข้าใจผิด‼️‼️
แม้ว่า 'Hidden Agenda' หรือ 'วาระซ่อนเร้น' ในฐานะความหมายของคำศัพท์ จะมีใจความถึงจุดมุ่งหมายซึ่งมีเบื้องลึกเบื้องหลัง เปิดเผยเพียงฉากหน้า เป็นการช่วงชิงพื้นที่เพื่อหวังผลในระดับที่สูงกว่าเปลือกนอก
การกระทำภายใต้วาระซ่อนเร้นนี้มีนัยทางลบเพื่อให้เกิดประโยชน์และความได้เปรียบสูงสุดต่อผู้กระทำ
หากแต่ 'Hidden Agenda' ในความหมายของสำนักพิมพ์สมมติ แตกต่างจากความหมายเดิมโดยสิ้นเชิง!
คลิกสั่งซื้อ วาระสมมติ หมายเลข 01 ว่าด้วยวรรณกรรม (HIDDEN AGENDA - On Literature)
====
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ คืออะไร
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ เป็นหนังสือรวมบทความที่มุ่งเน้นในประเด็นต่างๆ หลากหลาย ทั้ง
- วรรณกรรม
- รัฐศาสตร์
- ประวัติศาสตร์
- ปรัชญา
- ศิลปะ
และอื่นๆ ในนามขององค์ความรู้ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
.
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ ครอบคลุมทั้งบทความที่เขียนขึ้นใหม่และบทความแปล แต่ละเล่มมีโครงหลักและจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการนำเสนอแตกต่างกันไปตามวาระ และแต่ละวาระจะถูกกำกับหมายเลข ตั้งแต่ลำดับ #00 [ฉบับพิเศษพิมพ์จำกัด] เรื่อยไป
====
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ : วาระของผู้อ่าน
'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ คือการเปิดพื้นที่สำหรับวัฒนธรรมการวิจารณ์ ความเชื่อ และข้อเสนอบางประการ ที่อาจไม่ได้รับโอกาสในพื้นที่กระแสหลัก
เป็นหนังสือรวมบทความและเรื่องแต่ง เป็นหนังสือที่ให้พื้นที่บทความวิชาการนอกขนบ
และเป็นพื้นที่จริงสำหรับเรื่องแต่งที่ไร้ขอบเขตทางวรรณกรรม
====
เรามุ่งหวังให้ 'Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ เป็นเครื่องมือที่ถางทางไปสู่ที่ว่างเพื่อบรรจุและต่อยอดความคิด โดยสำนักพิมพ์เป็นเพียง 'ข้อต่อ' ที่เชื่อมข้อความและประโยคต่างๆ เข้าด้วยกัน
และหาก ‘Hidden Agenda' หรือ 'วาระสมมติ’ เป็นเพียงหนึ่งวาระและหมุดหมายของการทำหนังสือ เราขอให้วาระนี้เป็น ‘วาระของผู้อ่าน’ ในการค้นพบและแสดงจุดยืนบางประการร่วมกันกับสำนักพิมพ์
====
วาระในครั้งนี้ของเราคือ ว่าด้วยวรรณกรรม On Literature โดยมีบทความวิจารณ์ทั้งวรรณกรรมไทยและเทศที่ชวนอ่านอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยังมีเรื่องสั้นอีก 4 เรื่องต่างประเด็น และต่างกลวิธีเล่าเรื่องที่แปลกใหม่!!!
"หนังสือเล่มนี้เป็นการเปิดเวทีความคิดของคนรุ่นใหม่ที่น่าสนใจ"
-- วาด รวี
====
คลิกสั่งซื้อ วาระสมมติ หมายเลข 01 ว่าด้วยวรรณกรรม (HIDDEN AGENDA - On Literature)
====
น่าสนใจอย่างไร ดูภาพต่อไปได้เลย
บอกได้คำเดียวว่าบทความทั้ง 8 ชิ้นนี้ ร้อนแรงถึงระดับ
ขออนุญาตบอกเล่าคร่าวๆ พอให้กระหาย บรรยากาศแห่งการวิจารณ์
••••••••••••
[Non-Fiction]
1. วรรณกรรมและวัฒนธรรมการวิจารณ์ดิจิทัล กับตัวบทเช่าที่แตกกระจาย ไม่จบสิ้น
โดย กิตตินันท์ กลองใหญ่
ตั้งคำถามกับภูมิทัศน์ของการวิจารณ์วรรณกรรม เราจะมองมันอย่างไรต่อไปในยุคที่ ‘ตัวบทเช่าเขามา แตกกระจาย และไม่จบสิ้น’ เราจะ ‘อ่าน’ กันได้อย่างไร
••••••••••••
2. พิษสวาท : โศกนาฏกรรมในโรมานซ์ ชาตินิยมชายเป็นใหญ่ในความรัก
โดย เฌอทะเล สุวรรณพานิช
วิจารณ์เรื่องเพศ อำนาจ และการเมืองที่ล่องลอยอยู่ใน ‘พิษสวาท’ ของทมยันตี รวมถึงบทสนทนาถึงการเมืองที่รายล้อมอยู่กับความรักความสัมพันธ์ของตัวละครหญิงชายเหล่านั้น
••••••••••••
3. พุทธศักราชอัสดงกับทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ : กลวิธีระลึกทรงจำที่ร่วงหล่นในประเทศที่ไร้สิ้นซึ่งความทรงจำของ วีรพร นิติประภา
โดย ดุริยา บุญมั่น
เล่าถึง‘สัจนิยมมหัศจรรย์’ ใน ‘พุธศักราชอัสดงในทรงจำของทรงจำของแมวกุหลาบดำ’ นวนิยายของ วีรพร นิติประภา พาผู้อ่านไปพบกับความเหลื่อมล้ำทางความทรงจำ ความจริง ความลวง
••••••••••••
4. อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ และสัญลักษณ์ของ เทนเนสซี วิลเลียมส์ ที่ปรากฏในบทละครเรื่อง The Glass Menagerie
โดย ณัฐพล โพธิ์แก้ว
รู้จักตัวตนของนักเขียนและนักการละครชาวอเมริกัน ชื่อ เทนเนสซี วิลเลียมส์ ผ่านบทละคร ‘ตุ๊กตาแก้ว’ หรือ ‘The Glass Menagerie’ ซึ่งสะท้อนความรู้สึกนึกคิด ครอบครัว และสัญลักษณ์ที่สอดแทรกในเรื่องอย่างออกรส
••••••••••••
5. ภาพการเกิดเมืองและผลกระทบต่อชีวิตผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของประเทศอังกฤษ ซึ่งถูกสะท้อนในวรรณกรรม Great Expectations ของ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์
โดย กิติพงษ์ เมธารัตนากร
ถอดรหัสความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นเมือง การเมือง เศรษฐกิจ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ชนชั้นกลาง ทุนนิยม มาร์กซิสม์ จาก Great Expectations ของ ชาร์ลส์ ดิกเกนส์ ผู้โด่งดังแห่งโลกวรรณกรรม
และพบกับความผกผันที่เกิดขึ้นในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศอังกฤษผ่านภาพสะท้อนของนิยาย
••••••••••••
6. ความหมายของการมีชีวิต : แนวคิดข้ามมนุษยนิยมและศาสนาในภาพยนตร์ชุด Altered Carbon
โดย ภูมินทร์ สมัครพันธ์
แตกประเด็น ‘ข้ามมนุษยนิยม’ ที่แวดล้อมภาพยนตร์ชุด Altered Carbon ของ Netflix
สำรวจข้อจำกัดและความเป็นไปได้ในความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลนีกับความรู้ ทุน และมนุษย์
การวางตัวและมุมมองของมนุษย์ต่อความตายของตัวเองและสรรพสิ่งบนโลกล้ำสมัย
••••••••••••
7. วิวาทะเรื่องเล่ากระแสหลักและเรื่องเล่ากระแสรองในนวนิยายเรื่อง อีกวันแสนสุขในปี 2527 ของ วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา
โดย กฤษฏิญา ไชยศรี
อ่าน 'อีกวันแสนสุขในปี 2527' [ ‘historical metafiction’ หรือวรรณกรรมอันแต่งต่อจากความเป็นจริง (ของไทย) ] ด้วยสายตา ‘หลังสมัยใหม่’
ผู้เขียนสะท้อนให้เห็นว่าเรื่องเล่ากระแสหลักมักพยายามเชื้อเชิญให้เรารู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งของมัน ในขณะที่มันเองกลับไม่เคยสนใจอะไรกับเรื่องราวของเราเลย
และเราอาจรักษาอะไรเอาไว้ไม่ได้แม้แต่เรื่องเล่าของตัวเอง
••••••••••••
8. มองฉัน-อย่ามองฉัน : ร่างกายของฉัน ร่างกายของพวกมัน ร่างกายทางสังคม/การเมือง และ ‘ร่าง’ ที่ ‘ปรารถนา’ ต่อตัวเอง
โดย จุฑา สุวรรณมงคล
เล่าถึงความเหมือน/ต่าง ระหว่าง ร่างของปรารถนา’ ของ อุทิศ เหมะมูล และละครเวที ‘ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง’
เปิดประเด็นจากตัวบทออกไปสู่โลกศิลปะ เกี่ยวกับเซ็กส์ ตัวตน ศาสนา สังคม และการเมือง ว่าอะไรคือเนื้อแท้ และจะเป็นอย่างไรต่อไป
====
คั่น 'ความเข้ม' ของบทวิจารณ์ ด้วย 'ความข้น' ของเรื่องสมมติทั้ง 4
.
ในเมื่อวาระนี้เราพูดถึง 'วรรณกรรม' จะขาดเรื่องเล่าไปไม่ได้‼️‼️
.
ถึงเวลาของ พื้นที่จัดแสดงจริงของเรื่องสั้นนอกขนบ
••••••••••••
[Fiction]
1. โอ้แม่มหากวีศรีศตวรรษที่ 21
โดย นันดานี
เรื่องสั้นว่าด้วยนักอยากเขียนคนหนึ่งผู้ตัดสินใจเริ่มเส้นทางการเขียนด้วยการขอคำแนะนำจากพันทิป
เรื่องของเขานำเสนอซอกมุมต่างๆ ของแวดวงงานเขียนด้วยน้ำเสียงชนิดหนึ่ง น้ำเสียงอันไม่สนใจว่าใครเป็นคนรุ่นใหม่รุ่นเก่า!!!
••••••••••••
2. เศียร
โดย วรพล ถาวรวรานนท์
เรื่องราวอันไม่ทราบได้ว่าน่าสมเพชหรือเกรงขาม เศียร
เศียรของกษัตริย์ยิ่งใหญ่ผู้ล่วงลับที่ขาดลงเมื่อนานมาแล้ว ยังคงถูกวางตั้งไว้บูชาอยู่ตรงนั้นจนหน่ายนาน แม้ไร้ร่างแต่ก็เหมือนยังมีปรารถนา ล้นหลามด้วยสักการะ บริวาร
••••••••••••
3. วิหารนกกางเขนพันตัว
โดย นาลันดา มาลียา บัวตอง
เรื่องราวเหงาเงียบของใครต่อใคร ตัดประสานกันในห้วงหนึ่งของแต่ละจังหวะชีวิต เหตุการณ์ที่เขานำเสนอล้วนไม่ใช่เหตุการณ์ยิ่งใหญ่สำหรับตัวละครหนึ่งตัว หรืออาจไม่แม้กระทั่งเป็น ‘เหตุการณ์’
••••••••••••
4. ผมมีแผนทำโครงการศิลปนิพนธ์
โดย นรา วุฒิอาภา
เรื่องเล่าขณะที่ผู้เขียนกำลังทำศิลปนิพนธ์ อิทธิพลของการศึกษาด้านศิลปะส่งกลิ่นแวดล้อมการเล่าเรื่องชิ้นนี้
เขาอยู่ระหว่างกำลังใช้ความคิด และต้องเป็นอะไรสักอย่างก่อนที่จะถูกอนุญาตให้จบการศึกษา เขาเป็นอะไร เป็นผู้เขียนศิลปะนิพนธ์หรือไม่ เขาไม่แน่ใจ
====
การออกแบบรูปเล่มที่ใส่ใจทุกหน้ากระดาษด้วยมาตรฐานสำนักพิมพ์
เราเชื่อว่าการทำหนังสือให้ใกล้เคียงความสมบูรณ์ที่สุด นอกจากเนื้อหาที่เป็นส่วนของผู้เขียนแล้ว รูปเล่มก็สำคัญไม่แพ้กัน
สนพ.ยังใส่ใจในรายละเอียดต่างๆ ทุกหน้า เพื่อให้ผู้อ่านได้เสพทั้งเนื้อหาและความงามของหนังสือด้วย
ภาพประกอบ - ดึงดูดความสนใจ และเห็นข้อมูลเพิ่มเติมให้เห็นภาพยิ่งขึ้น พร้อมคำอธิบายพอสังเขป
หน้า Quote - เพื่อเป็นทั้งพื้นที่ให้ผู้อ่านได้หยุดพัก และติดตามข้อความบางช่วงที่อาจอ่านผ่านเลยไป
Keyword - ในแต่ละบทความวิจารณ์ สนพ.เลือกคำสำคัญจากบทความนั้น เพื่อย้ำว่างานเขียนชิ้นนี้มุ่งวิพากษ์วิจารณ์เรื่องใดเป็นหลัก
====
คลิกสั่งซื้อ วาระสมมติ หมายเลข 01 ว่าด้วยวรรณกรรม (HIDDEN AGENDA - On Literature)
วริศ ลิขิตอนุสรณ์ : บรรณาธิการ
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
หลายคนเขียน
จิรวัฒน์ รอดอิ่ม : ออกแบบปก
ความหนา : 248 หน้า
== คลิกสั่งซื้อชุดหนังสือราคาพิเศษ ==
Set วาระสมมติ
Set วรรณกรรมวิจารณ์
Set 8 เล่ม รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด