Last updated: 10 ส.ค. 2567 | 1335 จำนวนผู้เข้าชม |
ตามกรอบคิดของ บาร์ทูลัสแห่งแซกโซเฟอร์ราโท รากฐานของ 'Civitas' หรือรัฐในความหมายของยุโรปสมัยกลางนั้น 'Populus' เกิดขึ้นจากมนุษย์ ขณะที่จักรวรรดิมีรากฐานมาจากพระผู้เป็นเจ้า แต่ทั้งสองส่วนไม่สามารถแยกจากกันได้ เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าอยู่ในฐานะ 'ผู้แต่ง' (Author) หรือ 'Autur' พระคัมภีร์ ขณะที่รากฐานทางกฎหมายของ 'Populus' แสดงออกด้วย 'กฎหมายและอำนาจของผู้ปกครอง' หรือ 'Corpus luris' อันเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากพระคัมภีร์
เมื่อพระคัมภีร์ที่มี 'ผู้แต่ง' เป็นพระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นเอกเทศ ก็หมายความว่า 'Populus' ก็เป็นเอกเทศ ไม่ว่าจะปรากฏในรูปของกลุ่มคนที่สนับสนุนกษัตริย์หรือต่อต้านกษัตริย์ เมื่อมีความเป็นเอกเทศก็ทำให้ย่อมมีสถานะทางกฎหมาย บาร์ทูลัสแห่งแซกโซเฟอร์ราโท มองกลุ่มคนต่างๆ เหล่านี้ในรูปของ 'คนที่สวมหน้ากาก' หรือ 'Persona' ที่มีสถานะตามกฎหมาย
รากฐานทางกฎหมายของกลุ่มคนที่เป็น 'รัฐ' นั้นเกี่ยวข้องกับอำนาจที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ผู้ปกครองที่ไม่ใช่กษัตริย์ กระนั้นในทางปฏิบัติ แต่ละเมืองในอิตาลีก็มีอำนาจภายใต้การควบคุมของกษัตริย์ที่ต่างกัน บางเมืองก็ไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของกษัตริย์ ซึ่งเมืองนั้นก็จะมีความเป็นเอกเทศ
แต่ในทางกฎหมาย สถานะของการเป็น 'รัฐ' เป็นสิ่งที่เกิดจากการเมืองยอมรับอำนาจของกษัตริย์ อย่างไรก็ตาม ใครเป็นผู้ปกครองที่ไม่ได้ใช้กฎหมายหรือมีกฎหมายรองรับ (non iure) ก็เป็นเพียงแค่ 'เผด็จการ' ที่พร้อมจะกระทำการใดๆ เพื่อผลประโยชน์ของตนเอง ความเป็นเอกเทศจึงเป็นไปได้ตามหลักของกฎหมายเท่านั้น
บางส่วนจากบท จาก Provocatio สู่ Civitas โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
ในเล่ม ว่าด้วยประชาชน (On People) -- สนใจสั่งจองคลิกที่รูปภาพ
***สนใจสั่งซื้อชุดหนังสือ ในราคาพิเศษ***
Set รวมงานธเนศ วงศ์ยานนาวา
Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด