Last updated: 26 ม.ค. 2565 | 7783 จำนวนผู้เข้าชม |
โหลดฟรี!! 10 บทความ | Max Weber ( มักซ์ เวเบอร์ )
อย่าพลาดที่จะรู้จักเวเบอร์ นักปรัชญาคนสำคัญแห่งยุค - กด Save ติดเครื่องไว้ มีประโยชน์แน่นอน!!
ฐิติกร สังข์แก้ว . สรรวภัทร พัฒโร . สุดเฉลิม ศัศตราพฤกษ์ . ปุรินทร์ นาคสิงห์ . ศิวัช ศรีโภคางกุล . ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี . กาญจน วิชญาปกรณ์ . พิพัฒน์ พสุธารชาติ . โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ . ลิขิต ธีรเวคิน
- บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยจริยธรรมทางการเมืองของ แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
- มักซ์ เวเบอร์ กับเรื่องอื้อฉาวในประเทศเยอรมันช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
- ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
...และอีกมากมาย
1. บทสะท้อนแนวคิดว่าด้วยจริยธรรมทางการเมืองของ แม็กซ์ เวเบอร์ (Max Weber)
— ฐิติกร สังข์แก้ว
"สังคมสมัยใหม่กลับปฏิเสธการปะปนกันระหว่างอิทธิพลทางศาสนาและพื้นที่ทางโลก แม้ว่าจริยธรรมจะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและแสวงหามาตั้งแต่ครั้งปรัชญากรีกโบราณ แต่เมื่อมนุษยชาติก้าวเข้าสู่สภาวะสมัยใหม่กลับกีดกันความสัมพันธ์กับพื้นที่ศาสนาดังกล่าวออกไป"
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/swurd/article/view/32257/27546
============
2. Max Weber วิถีแห่งการบำเพ็ญตบะและการเมือง (ธเนศ วงศ์ยานนาวา)
— สรรวภัทร พัฒโร
"ผู้นำประเภทฝึกฝนตนเองให้มีวินัยและจริยธรรมในศาสนา ไม่ยึดติดทรัพย์สินเงินทอง ก่อนจะลงเล่นการเมือง ยังมองหาได้จากนักการเมืองในโลกยุคปัจจุบันหรือไม่ หรือผู้นำไม่จำเป็นมีกรอบคิดที่จะเสียสละตนเพื่อชาติ หรือผู้นำทางการเมืองก็สามารถทำเพื่อชาติได้โดยไม่ต้องฝึกฝนตนเอง หรือข้อเสนอของเวเบอร์จะเคยเป็นเพียงผู้นำตามอุดมคติในความต้องการของผู้คนในสังคมเพียงเท่านั้น"
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/view/64048/52552
============
3. การเปลี่ยนแปลงการกระทำทางสังคมจากทัศนะของเวเบอร์บนความท้าทายความสามารถในการบริหารเพื่อการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม
— สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์
"ชาวเน็ตไม่สามารถกำหนดทิศทางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างชัดเจนแต่อาจจะส่งผลต่อความวุ่นวายทางสังคมได้และอาจกลับไปสู่สภาวะต้องมนต์ขลังที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากประเพณีหรือความศรัทธาแต่เป็นความเพ้อฝันที่ขาดความรับผิดชอบต่อการกระทำทางสังคมใหม่ ทำให้มนุษย์ขาดเหตุผลจากการกระทำทางสังคมออนไลน์ในการพัฒนาความมั่นคงทางสังคมต้องปรับปรุงระบบโครงสร้างทางสังคมทั้งนี้สังคมสมัยใหม่เชื่อว่ามนุษย์ทุกคนมีเหตุผลและเท่าเทียมกัน"
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/parichartjournal/article/view/158643/114898
============
4. Max Weber : วิถีแห่งการบำเพ็ญตบะและอาชีพการเมือง ( ธเนศ วงศ์ยานนาวา )
— ปุรินทร์ นาคสิงห์
"แนวคิดหลายอย่างของ Max Weber ที่กล่าวมาจะมีลักษณะนามธรรมและเป็นเชิงอุดมคติ แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้แนวคิดเหล่านั้นสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบันถึงแม้ว่าบริบททางสังคมและการเมืองในช่วงเวลาที่เขามีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน จะแตกต่างกันก็ตามและถึงแม้ว่าเขาจะไม่ประสบความสำเร็จในเส้นทางการเมืองที่เขาปรารถนาไว้แต่ในเส้นทางวิชาการกับมีคุณูปการต่อการศึกษาสังคมศาสตร์เป็นอย่างมาก"
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/socku/article/view/79859/63705
============
5. ทบทวนความรู้ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเงื่อนไขของการปฏิวัติ ในศตวรรษที่ 20
— ศิวัช ศรีโภคางกุล
"สำหรับ Weber แล้วเค้าปรารถนาให้ระบบราชการจะต้องเป็นเรื่องของความเสมอภาค (equality) ที่จะต้องมาก่อนกฎหมาย (law) ต่างๆ ซึ่งนี่ถือว่าเป็นหน้าที่สำคัญของระบบบริหาร (administrative functions) (Weber, 2003)"
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/158971/115023
============
6. ความอิหลักอิเหลื่อของมโนทัศน์ชาติพันธุ์
— ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี
"ในขณะที่เวเบอร์พัฒนามโนทัศน์เรื่องชาติพันธุ์ขึ้นมาเพื่อหนีห่างจากมโนทัศน์เชื้อชาติ และชนชั้น ซึ่งมีฐานคิดในแบบวัตถุวิสัย งานในยุคแรกของคายส์นั้นได้หยิบยืมมโนทัศน์ของเวเบอร์ เกียร์ตซ์ เลวี-สเตราส์ ตลอดจนงานของลีช และมอร์มัน เพื่อโต้แย้งกับทั้งฐานคิดแบบวัตถุวิสัยที่มองชาติพันธุ์ในฐานะที่เป็นหน่วยถือครองทางวัฒนธรรม (cultural bearing unit) พร้อมๆ กับวิพากษ์วิธีคิดที่มองชาติพันธุ์ในเชิงสถานการณ์ (situational approach) ที่เห็นว่าจิตสําานึกและการรับรู้ทางวัฒนธรรม เป็นไปตามแต่สถานการณ์จะพาไป"
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/174568/124969
============
7. อำนาจกับการให้และการรับ : กรณีศึกษาบทละครนอกเรื่องสังข์ทอง
— กาญจนา วิชญาปกรณ์
"อำนาจเป็นโอกาสที่บุคคลหนึ่งหรือจำนวนหนึ่ง สามารถมีการกระทำร่วมกัน เพื่อให้บรรลุความตั้งใจส่วนตนได้ แม้จะถูกต่อต้านโดยบุคคลอื่น อำนาจรูปแบบนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่แตกต่างกันตามสภาพทางประวัติศาสตร์และทางโครงสร้างมนุษย์ไม่ได้แสวงหาอำนาจทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่อาจแสวงหาอำนาจเกียรติยศทางสังคมที่ติดมาพร้อมกับอำนาจนั้นๆ ดังนั้น อำนาจในทัศนะของ Max Weber จึงมีความสัมพันธ์ทางชนชั้นและสถานภาพทางสังคม"
https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jnuks/article/view/159856/168207
============
8. มักซ์ เวเบอร์ กับเรื่องอื้อฉาวในประเทศเยอรมันช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
— พิพัฒน์ พสุธารชาติ
"บทที่ 10 ในหนังสือ มักซ์ เวบอร์ กับการเมืองเยอรมัน 1890 - 1920 จะเป็นการมองแนวคิดทางการเมืองของเวเบอร์ในภาพรวม ทั้งยังเป็นการวิจารณ์เวเบอร์จากมุมมองของระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันของประเทศเยอรมนี -เนื้อหาส่วนใหญ่ในหนังสือ มักซ์ เวบอร์ กับการเมืองเยอรมัน 1890 - 1920 พูดถึงประวัติศาสตร์ทางการเมืองของประเทศเยอรมนีในปี 1890 - 1920 ที่เรียกว่าเป็นยุควิลเฮล์มไมน์ (Willhelmein) อันเป็นช่วงที่จักรวรรดิเยอรมันอยู่ภายใต้การบริหารงานของพระเจ้าไกเซอร์วิลเฮล์มที่ 2 (Willhelm II, 1888 - 1919) และถือเป็นการสิ้นสุดของเยอรมนีในระบบบิสมาร์ค เนื่องจากบิสมาร์ค (Bismarck, 1815 - 1898) ได้ลาออกจากตำแหน่งอัครเสนาบดีในปี 1890 "
https://www.academia.edu/11991960
============
9. ทฤษฎีระบบราชการกับการจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินในสมัยกรุงศรีอยุธยา
— โกวิท วงศ์สุรวัฒน์
"ทฤษฎีระบบราชการของ มักซ์ เวเบอร์ และคนอื่นๆ ที่เน้นถึงหลักสายการบังคับบัญชา มักซ์ เวเบอร์ เห็นว่าจำเป็นต้องมีเนื่องจากการบริหารองค์การขนาดใหญ่จำเป็นต้องจัดหมวดหมู่ของตำแหน่งต่างๆ เป็นลำดับชั้น "ข้าราชการในลำดับชั้นที่สูงทำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการที่อยู่ในลำดับชั้นที่ต่ำรองลงมา การจัดลำดับชั้นในระบบราชการเป็นไปเพื่อเป็นหลักประกันว่า เบื้องบนจะสามารถควบคุมเบื้องล่างได้อย่างใกล้ชิด" ( พิทยา บวรวัฒนา , 2558 : 22)"
https://so01.tci-thaijo.org/index.php/gjournal-ksu/article/view/242521/164573
============
10. ความขัดแย้งและการแก้ปัญหา
— ลิขิต ธีรเวคิน
"การได้มาซึ่งอำนาจรัฐจะต้องมีความชอบธรรม (legitimacy) หมายความว่า เป็นที่ยอมรับของคนที่อยู่ในชุมชนภายใต้ระเบียบการเมืองนั้นๆ ความชอบธรรมอาจเกิดจากการใช้กำลังในเบื้องต้น ความชอบธรรมในส่วนนี้มีพื้นฐานมาจากความกลัว จนถึงจุดๆ หนึ่งก็อาจจะกลายเป็นประเพณี เช่น การสืบทอดอำนาจจากพ่อไปสู่ลูก จากลูกไปสู่หลาน ซึ่ง มักซ์ เวเบอร์ ( Max Weber ) เรียกว่า traditional authority"
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/244485/165770
============
// สนพ.สมมติตีพิมพ์ผลงานของ มักซ์ เวเบอร์ ในฉบับภาษาไทย // แปลโดย กมลรัตน์ ศีลประเสริฐ
สั่งซื้อได้แล้ววันนี้ คลิก การยึดมั่นในอาชีพการเมือง (Politics as a Vocation)
เลคเชอร์หรือบทบรรยายสำคัญที่เวเบอร์พูดกับนักศึกษาเสรีนิยมฝ่ายซ้ายในเยอรมนี!!!
==============================
สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา
ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ
// Set เล่มหนาตาสว่าง //
// Set ประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย //
// Set เรียนรู้การเมืองไทย //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน //
==============================
บทความที่คุณน่าจะชอบ
/ ตุลาการภิวัตน์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ /
/ ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ 20 หนังสือ อ่านเบิกเนตร /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
/ สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /
==================
พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่จัดชุดหนังสืออย่างพิถีพิถัน มากกว่า 40 ชุด จากหนังสือกว่า 100 ปก ในราคาสุดพิเศษ
โปรดอย่ารอช้า หนังสือบางเล่มเหลือจำนวนจำกัด
หนังสือดี! ราคาโดน! ที่ผู้อ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!!!
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/category/3755/special-set