ว่าด้วยการถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม (On Decolonaility) ธเนศ วงศ์ยานนาวา

คุณสมบัติสินค้า:

จากเขม่าปืนในแดนคนป่า สู่โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา

หมวดหมู่ : งานวิชาการ 450 THB

Share

ว่าด้วยการถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม (On Decoloniality) :
จากเขม่าปืนในแดนคนป่า สู่โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา 

▪️ นี่คือหนังสือเล่มที่ 11 ในชุดงานของ ธเนศ วงศ์ยานนาวา | หนังสือเล่มนี้พูดถึง ‘อำนาจแบบอาณานิคม’ ที่หลงเหลือถึงปัจจุบันจากเหล่าอาณานิคมในอดีต แม้ว่าระบบอาณานิคมจะจบลงไปแล้ว และสังคมก็เข้าสู่ระบบโลกเสรีก็ตาม

▪️ ‘ระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม’ ควบคุมทั้งความคิด ศาสนา ความเชื่อ ค่านิยม รวมไปถึงความรู้ ผู้อยู่ใต้อาณานิคมต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อให้หลุดจากการเป็น ‘คนป่า’ และกลายเป็น ‘ผู้สูงส่งเหมือนกับพวกคริสต์ผิวขาว’! การควบคุมหรือทำลายเริ่มจากการขู่บังคับด้วยอำนาจจากกระบอกปืน หรือก็คือนับตั้งแต่ที่คนคริสต์ผิวขาวยึดครองดินแดนจากคนพื้นเมือง ขณะที่ปัจจุบันตั้งแต่รัฐประชาชาติ สหประชาชาติ จนถึงระบบโลกเสรี สิ่งต่างๆ ก็ยังไม่รอดพ้นจากอำนาจของเจ้าอาณานิคมคริสต์ผิวขาวได้

▪️ ‘การถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม’ จึงปรากฏอยู่ในแทบทุกมิติของชีวิต และดูเหมือนว่าจะไม่มีสิ่งใดในโลกรอดพ้นไปจาก ‘อำนาจของอาณานิคม’ และ ‘ระเบียบนานาชนิดของมหาอำนาจตะวันตก’

▪️ อำนาจนี้ตอกย้ำถึงความรู้ที่เป็นสากล (universal) ซึ่งผลิตขึ้นโดยคนคริสต์ยุโรปผิวขาว และตอกย้ำ ‘ความเหนือกว่าของคนผิวขาว’ ตัวอย่างเช่น ความคิดว่าคนผิวขาวเท่านั้นที่จะมี ‘rationality’ ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องถอดถอนความคิดต่างๆ เหล่านี้ไปพร้อมกับการทำลายล้างความเชื่อในเรื่องความสูงส่งของเชื้อชาติสีผิว (race)

▪️ การถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคมที่กล่าวถึงในเล่มนี้ คือเรื่องของ ‘ระเบียบความรู้/ญาณวิทยาแบบโลกซีกเหนือ’ เป็นหลัก ซึ่งการจัดระเบียบความรู้หรือญาณวิทยาของโลกซีกเหนือขยายตัวออกไปประหนึ่ง ‘จักร’ ที่หมุนไปเพื่อทำลายล้างศัตรูที่ขวางหน้า

▪️ การทำลายล้างที่สำคัญคือ ‘การทำลายล้างความคิดที่เป็นปฏิปักษ์และขัดกับค่านิยมของจักรวรรดิ’ เช่น การทำลายล้างศาสนาและความเชื่อที่ขัดกับคริสต์ศาสนาที่เป็นเอกเทวนิยม (monotheism) ซึ่งพยายามยืนยันความถูกต้องของค่านิยมแบบคริสต์ผิวขาว อำนาจของสังคมแอตแลนติกเหนือจึงแยกไม่ออกจากอำนาจทางการทหาร ตลอดจนอำนาจแบบอื่นๆ ที่ใช้เป็นแนวทางในการโน้มน้าว

▪️ สงสัยบ้างไหมว่า ทำไมเราถึงต้องใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารกับโลกใบนี้? ทั้งที่ภาษาอังกฤษเองเป็นเพียงภาษาหนึ่งในภาษานับพันๆ ภาษาของโลก เมื่อพิจารณาในระดับโลกแล้ว ภาษาอังกฤษที่อ้างว่าเป็น ‘สากล’ นั้นแท้จริงเป็น ‘ภาษาบ้านนอก’ อันหนึ่งของโลก หากใช้หลักเกณฑ์ประชากรที่ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (mother tongue) จะเห็นว่ามีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 13% ของประชากรโลก หรือต่อให้นับประชากรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองก็อาจเพิ่มเป็น 20% เท่านั้น ซึ่งจำนวนหรือปริมาณนี้ก็ไม่ได้บ่งบอกถึงพลังอำนาจเสมอไป

▪️ อีกหนึ่งในการทำลายล้างที่สำคัญก็คือ ‘การทำลายภาษา’ การสูญสลายของภาษาต่างๆ ในโลกนั้นดำเนินไปพร้อมกับการขยายตัวของภาษาของเจ้าอาณานิคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษที่แสดงอำนาจผ่านการศึกษา ตำรา ข่าวสาร วรรณกรรม ภาพยนตร์ เพลง ฯลฯ ซึ่งทำให้ระบบคิดที่หลากหลายในโลกค่อยๆ ถูกกำจัดและทำลายลง

▪️ ตัวอย่างที่ทำให้เห็นภาพชัดก็คือ ‘สถาบันการศึกษาในระดับสูง’ ซึ่งเปรียบเป็นจักรกลสำคัญของเจ้าอาณานิคมและโลกซีกเหนือ เช่น การตีพิมพ์ผลงานวิชาการที่เป็นภาษาอังกฤษ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษจึงเป็นหนึ่งในกลไกสำคัญทางอำนาจ โดยเฉพาะการสอบวัดระดับภาษาที่ถือได้ว่าเป็นตัวอย่างในการแสดงให้เห็นความหวาดวิตกต่อการไร้ซึ่งความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ...

▪️ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างของระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม ภายในเล่มยังมีการวิเคราะห์อย่างถึงแก่น การเชื่อมโยงประเด็นที่น่าทึ่ง และตัวอย่างที่เพิ่มความเข้าใจต่อเรื่อง ‘การถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม’ อีกด้วย
==========

ทดลองอ่าน

// คำนำหนังสือ //
// ทำไม 'เชื้อชาติสีผิว' มีผลต่อความเป็น 'อภิสิทธิ์ชน'? //
// จริงหรือไม่ที่ 'คนผิวขาว' เหนือกว่า สูงส่งกว่า? //
// อะไรทำให้เราเป็น 'มนุษย์เศรษฐกิจ'? //
==========

ว่าด้วยการถอดถอนระเบียบอำนาจแบบอาณานิคม :

จากเขม่าปืนในแดนคนป่า สู่โซ่ตรวนทางปัญญาในสถาบันการศึกษา
(On Decoloniality)

▪️ ธเนศ วงศ์ยานนาวา  : เขียน
▪️ ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
▪️ สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร : บรรณาธิการเล่ม
▪️ DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม

▪️ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2567
▪️ ความหนา 440 หน้า
▪️ ราคาปก 480 บาท
▪️ ISBN : 978-616-562-065-9
==================

...แม้ภาพของจักรวรรดิจะเลือนหายไป แต่การต่อสู้กับมรดกของจักรวรรดินั้นยังคงดำเนินต่อ เพราะความพยายามรักษาสถานภาพเดิมของจักรวรรดิให้คงอยู่อย่างเช่น รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ฉะนั้นเส้นทางของ ‘การทำให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง’ ‘เส้นทางสายไหมใหม่’ ไล่มาถึง ‘การรุกรานยูเครนของรัสเซีย’ ต่างบ่งบอกถึงการโหยหาหรือรักษาซึ่งความเป็นจักรวรรดิ

ประเทศมหาอำนาจและชนชั้นนำต่างมีบทบาทสำคัญในการกำหนดระเบียบโลกตามผลประโยชน์ของเหล่าประเทศมหาอำนาจที่กอปรไปด้วย ‘ความไม่เท่าเทียมกันทางอำนาจ’ ของแต่ละประเทศ...การเป็นจักรวรรดิไม่ได้เป็นเพียงแค่การขยายอำนาจทางการทหารหรือการค้า แต่ยังเป็นการขยายอำนาจทางความคิดจากระดับชีวิตประจำวันไปจนถึงระบบคิด ซึ่งการทำลายการใช้ภาษายังเป็นการทำลายวิถีชีวิต ความทรงจำ ประวัติศาสตร์ และตัวตน...

— บางส่วนจากในเล่ม


คลิกสั่งซื้อ ชุดรวมงานธเนศ ในราคาพิเศษ





Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้