Set 10 เล่มของนักเขียนในตำนานที่คุณต้องอ่านในชีวิตนี้

คุณสมบัติสินค้า:

ผลงานของนักเขียนในตำนานที่ไม่ทำให้คุณต้องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์

หมวดหมู่ : Special Set

Share

รวมผลงานของนักเขียนในตำนานที่ไม่ทำให้คุณต้องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์‼️


10 เล่มจากนักประพันธ์ชั้นครูที่นักอ่านทั่วรู้จัก และต้องอ่านหนังสือจากปลายปากกาของพวกเขาในชีวิตนี้ให้ได้‼️

นักเขียนทั้ง 10 คนเหล่านี้ เรียกได้ว่าเป็น   นักเขียนคลาสสิค  เพราะผลงานของพวกเขายังคงได้รับการตีพิมพ์จนกระทั่งปัจจุบัน และคงตีพิมพ์ต่อไปตลอดกาล

การที่หนังสือเหล่านี้ยังคงไม่เลือนหายไปจากแผงหนังสือ และยังได้พบเจอผู้อ่านอยู่ทุกยุคทุกสมัย ก็เพราะว่าเป็น 'หนังสือ CLASSIC' อย่างไม่ต้องสงสัย

หนังสือ CLASSIC คือผลงานที่ดี --- หนังสือ CLASSIC ไม่ใช่หนังสือที่อ่านยาก

พูดอีกอย่างคือ ที่หนังสือเหล่านั้นเป็นงาน Classic ไม่ใช่เพราะมันยาก  แต่เป็นเพราะ 'มันดีและมีคุณค่า' 
┈ ┉ ┈

เมื่อ 'ชีวิต' คนคนหนึ่งมีเวลาจำกัด

'หนังสือ' ที่จะต้องเสียเวลาอ่านก็คงมีไม่มาก

ผลงานของ  นักเขียนในตำนานทั้ง 10 คน  ไม่ทำให้คุณต้องเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์‼️
  1. หวนคืนสู่บาบิลอน และเรื่องสั้นอื่นๆ (Babylon Revisited and Other Stories)
  2. แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่ (Frankenstein; or, The Modern Prometheus)
  3. เสื้อโค้ต | The Overcoat
  4. เด็กสาวและชายยิปซี (The Virgin and the Gipsy)
  5. งานเลี้ยงของบาเบตต์ (Babette's Feast)
  6. ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf)
  7. บาย - ไลน์ (By-Line)
  8. ยูโทเปีย (Utopia)
  9. สวัสดิกะไนท์ (Swastika Night)
  10. เอเรวอน ดินแดนไร้แห่งหน (Erewhon or Over the Range)

┈ ┉ ┈

7 นักเขียนที่ 'เปลือยเนื้อแท้และพฤติกรรมของมนุษย์' 

เพื่อย้ำเตือนให้เราเข้าใจความเป็นมนุษย์ แหวกม่านประเพณีที่ไร้เหตุผล และก้าวผ่านวันเวลาด้วยความสุขุม




เอฟ. สก็อต ฟิตซ์เจอรัลด์ (F. Scott Fitzgerald) American Author
ผู้เขียน หวนคืนสู่บาบิลอน และเรื่องสั้นอื่นๆ (Babylon Revisited and Other Stories)

หากต้องการทำความรู้จักกับอเมริกาในทศวรรษ 1920 ย่อมต้องมีชื่อผลงานของ เอฟ. สก็อต ฟิตซ์เจอรัลด์ (F. Scott Fitzgerald) ปรากฏขึ้นมาอย่างแน่นอน เพราะเขาได้รับยกย่องว่าเป็นนักเขียนที่ถ่ายทอดภาพของสังคมสมัยนั้นได้อย่าง 'ละเมียดละไม' และ 'งดงาม'

ฟิตซ์เจอรัลด์เป็นผู้เปิดโปงพฤติกรรมสังคมอเมริกันในช่วงทศวรรษ 1920 ผ่านทั้งและเรื่องสั้นที่ลงนิตยสารมากมาย

นักประพันธ์ผู้นี้ทำให้ 'สาวงาม' กลายเป็น 'หญิงเร่รัก' และ 'หญิงเร่รัก' กลายเป็น 'นางแพศยา'
============



แมรี เชลลีย์ (Mary Shelley) English Author
ผู้เขียน แฟรงเกนสไตน์ หรือ โพรมีธีอัสยุคใหม่
(Frankenstein; or, The Modern Prometheus)

แมรี เชลลีย์ (Mary Shelly: 1797 - 1851) นักเขียนหญิงผู้ประทับชื่อไว้ในประวัติศาสตร์วรรณกรรมอังกฤษในวัยเพียงยี่สิบปี ด้วยงานเขียนอันเป็นตำนาน อย่าง 'แฟรงเกนสไตน์'

ทันทีที่งานเขียนของเธอปรากฏ ก็ได้รับกระแสตอบรับอันรุนแรงว่าเป็นงานที่เพ้อฝัน ไร้สาระ และขัดต่อศีลธรรม จนส่งผลต่อปฏิกิริยาต่อต้านจากผู้ศรัทธาในนามของศาสนาคริสต์

เรื่องราวการเดินทางที่จะนำผู้อ่านจมดิ่งลงไปสัมผัสถึงความโหยหาในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ที่ถูกฉีกทึ้งอย่างไร้ความเมตตา เปิดเผยเบื้องหลังชื่อ 'แฟรงเกนสไตน์' ที่ไม่ใช่ชื่อ 'สัตว์ประหลาดน่ากลัว' อย่างที่เข้าใจกัน แต่สัตว์ที่ประหลาดที่คุณนึกถึงนั้น 'ไม่มีชื่อ' ด้วยซ้ำ!

นี่คือหนึ่งในตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกวรรณกรรม และติดอันดับหนังสือ 'ทรงคุณค่า' และ 'ต้องอ่าน' จากสื่อระดับสากล

100 Greatest Novels of All Time -- The Guardian --
100 Novels Everyone Should Read -- The Telegraph --
100 Greatest British Novels -- BBC --
100 Greatest Novels of All Time -- The Observer --

============




นิโคไล วาสสิเลียวิช โกโกล (Nikolai Vasilievish Gogol: 1809 - 1852)
ผู้เขียน เสื้อโค้ต | The Overcoat

ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวรรณกรรมสัจนิยมของรัสเซีย งานของโกโกลมีเนื้อหาเสียดสี ล้อเลียนสังคมและความฉ้อฉลของระบบราชการในรัสเซีย สำนวนการเขียนของเขามีความโดดเด่นเฉพาะตัวและวิพากษ์วิจารณ์สังคมอย่างแสบสันต์ หากกล่าวว่าการเมืองในต้นศตวรรษที่ 19 ของรัสเซียตกอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 (Tsar Nicholas I: 1796 - 1855) แล้ว วรรณกรรมรัสเซียก็เหมือนตกอยู่ใต้มนต์สะกดของโกโกลเลยทีเดียว
============




ดี. เอช. ลอว์เรนซ์ (D. H. Lawrence) English Author
ผู้เขียน เด็กสาวและชายยิปซี (The Virgin and the Gipsy)

หนึ่งในนักเขียนอังกฤษที่มีอิทธิพลที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20
-- Encyclopædia Britannica --


ลอว์เรนซ์คือนักประพันธ์ที่เขียนถึงความปรารถนาอันซับซ้อนซึ่งซ่อนเร้นอยู่เบื้องลึกของจิตใจได้อย่างยอดเยี่ยม! เขาคือผู้ปลุกเร้าเหล่าหนุ่มสาวให้หันหลังใส่กรอบคิดอันคร่ำครึ เพื่อก่อร่างสร้างความสัมพันธ์ใหม่ที่ยึดโยงอยู่กับ 'อิสรภาพในการเลือก' และ 'ความรู้สึกจากก้นบึ้ง'

นี่คือนักเขียนที่ไม่เคยยอมให้ 'ความเคยชิน' ที่ผู้คนต่างก็ยอมรับพยักหน้ามาปิดกั้น 'ความกล้าหาญ' ในการค้นหาความจริงของชีวิต
============



ไอแซค ไดนีเสน (Isak Dinesen) Danish Author
ผู้เขียน งานเลี้ยงของบาเบตต์ (Babette's Feast)

ไอแซค ไดนีเสน (Isak Dinesen) เป็นชื่อที่นักอ่านอเมริกันรู้จักเธอ แท้จริงแล้วเป็นนามปากกาของ คาเรน บลิกเซน (Karen Blixen) นวนิยายขนาดสั้นเรื่องนี้อ่านสนุกเพลิดเพลิน และเมื่ออ่านในอีกระดับ ก็จะพบกับแง่มุมทางประวัติศาสตร์ยุโรป ความเป็นศิลปินที่แท้ เบื้องลึกของจิตใจมนุษย์ หรือความเชื่อทางศาสนา นักวิจารณ์และอาจารย์มหาวิยาลัยท่านหนึ่งเปรียบงานเลี้ยงของบาเบตต์ในค่ำคืนนั้นกับเหตุการณ์ ‘The Last Supper’
============



วิลเลียม ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม (W. Somerset Maugham) British Author
ผู้เขียน ชั่วใบระริกไหว (The Trembling of a Leaf)

"นักเขียนร่วมสมัยที่ผมเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อผมมากที่สุดก็คือ ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม นั่นเอง ผมชื่นชมเขามากที่เล่าเรื่องได้ตรง มีแต่เนื้อล้วน"
จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell)

"เขาคือหนึ่งในนักเขียนคนโปรดของผม"
กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel Garcia Marquez)

"ความสำเร็จของมอห์มนั้นใหญ่หลวงยิ่ง เรื่องสั้นถือเป็นงานที่เขาถนัดโดยแท้ หลายเรื่องที่เขียนยังถือเป็นเรื่องชั้นเยี่ยมเท่าที่มีปรากฏในวรรณกรรมอังกฤษ"
แอนโธนี เบอร์เกส (Anthony Burgess)


คงไม่ต้องอธิบายให้มากความสำหรับความยิ่งใหญ่ของนักประพันธ์ผู้นี้ 'วิลเลียม ซอเมอร์เซ็ท มอห์ม' หากคุณต้องการเห็นสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องลึกในจิตใจของมนุษย์ทุกคน ความปลิ้นปล้อนลวงหลอกของผู้คน ความอ่อนแอ ความเห็นแก่ได้ --- คุณต้องไม่พลาด 'ชั่วใบระริกไหว' เล่มนี้

มอห์มได้รับอิทธิพลในการเขียนจากนักเขียนฝรั่งเศสซึ่งล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 อย่าง กีย์ เดอ โมปัสซังต์ (Guy de Maupassant) / กุสตาฟท์ โฟลแบรต์ (Gustave Flaubert) / เอมิล โซลา (Emile Zola)

สไตล์การเขียนของมอห์มถูกจัดอยู่ในสกุลธรรมชาตินิยม ที่เน้นการถ่ายทอดความรู้สึกออกมาตรงๆ เพราะเขาเชื่อว่าวิธีการเขียนแบบนี้เผยให้เห็นชีวิตและความเป็นมนุษย์อย่างที่มันเป็น
============


เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway) American Author
ผู้เขียน บาย-ไลน์ (By-Line)


ด้วยเหตุที่เฮมิงเวย์เคยทำงานเป็น 'นักหนังสือพิมพ์' เขาจึงต้องออกเดินทาง ใช้ชีวิตลำพัง ซอกแซกหาข่าว สืบค้นแหล่งข่าว จนได้เรียนรู้ถึง ‘ความชั่วร้ายสารพัดอย่างที่มนุษย์ทำลงไป’ เขาถูกฝึกให้เขียนอย่างตรงไปตรงมา กระชับ และชัดเจน นี่คือบทเรียนแรกในการเขียนของเฮมิงเวย์ นอกจากจะมีพรสวรรค์ของนักข่าวอย่างเต็มเปี่ยมที่จะเขียนเฉพาะข้อเท็จจริงเท่านั้น เขายังเป็นนักเขียนที่เก่งกาจและแม่นยำในสิ่งที่เขาเล่า
========================


3 นักเขียนผู้สร้าง 'โลกสมมติ'  

เพื่อสะท้อนความเหลวแหลกของสังคม การกดขี่ที่ต้องถูกกำจัด และท้าทายผู้มีอำนาจอย่างน่าเกรงขาม




เซอร์ โธมัส มอร์ (Sir Thomas More) English Author
ผู้เขียน ยูโทเปีย (Utopia)

เป็นเรื่องน่าเศร้าหรือไม่ หากคนคนหนึ่งที่ซื่อตรงต่อศรัทธาของตัวเอง แต่กลับต้องชีวิตลงด้วยการถูกประหาร!

โธมัส มอร์ ศรัทธาคริสต์ศาสนาลัทธิคาทอลิก และคัดค้านการแยกตัวออกจากคริสตจักรโรมันคาทอลิกของอังกฤษและไม่เห็นด้วยกับการหย่าร้างระหว่างพระเจ้าเฮนรีกับพระนางแคเธอรินแห่งอารากอน

มอร์ก็ถูกจำคุกด้วยข้อหาการกบฏ เพราะไม่ยอมรับพระราชบัญญัติการสืบราชสันตติวงศ์ ค.ศ. 1533 ซึ่งมีเนื้อหาดูหมิ่นอำนาจพระสันตะปาปาและยอมรับโมฆะกรรมดังกล่าว
============



แคทธารีน เบอร์เดกิน  (Katharine Burdekin)
ผู้เขียน Swastika Night

นักประพันธ์ชาวอังกฤษผู้เขียนวรรณกรรมเชิงคาดการณ์ถึงโลกอนาคต สตรีนิยม จิตวิญญาณ และวรรณกรรมเยาวชน

ปี ค.ศ.1934 เบอร์เดกินเริ่มใช้นามปากกาเป็นชื่อผู้ชาย ‘เมอร์เรย์ คอนสแตนติน’ (Murray Constantine) เพราะเหตุที่นวนิยายของเธอมีลักษณะทางการเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์ลัทธิฟาสซิสม์อย่างรุนแรง จึงมีความเสี่ยงอาจก่อเกิดผลกระทบและการว่ากล่าวโจมตี เธอจึงต้องพยายามปกป้องคนในครอบครัว (ทั้งพ่อแม่พี่น้องในสกุลเดิม ลูกสาวสองคนและบุตรของคู่ชีวิตเธออีกคนหนึ่ง) จากแรงสะท้อนเหล่านั้น ด้วยเหตุที่แนวคิดรุนแรงแบบฟาสซิสต์กำลังแพร่ขยายอยู่ในหลายประเทศทั่วทั้งยุโรป

ตัวตนแท้จริงของเจ้าของนาม ‘เมอร์เรย์ คอนสแตนติน’ ไม่เคยเป็นที่รู้จักของใครเลย เธอเขียน Swastika Night ระหว่างปี 1934 - 1935 สองปี ก่อนกองทัพนาซีบุกเข้ารุกรานโปแลนด์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่จุดชนวนสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมามันกลายมาเป็นนวนิยายอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดของเธอ

============




ซามูเอล บัตเลอร์ (Samuel Butler) English Author
ผู้เขียน เอเรวอน ดินแดนไร้แห่งหน (Erewhon or Over the Range)

ชื่อของเขาเป็นที่ระคายหูต่อนักวิจารณ์สมัยวิคตอเรียน เพราะบัตเลอร์ได้วิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อศาสนาอย่างรุนแรง!!! และแหวกขนบด้วยการตั้งคำถามต่อทฤษฎีวิวัฒนาการของ ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

ซามูเอล บัตเลอร์ (Samuel Butler)

✅ ได้รับการยกย่องว่าเป็น 'นักคิดหัวก้าวหน้าที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล'
✅ มีอิทธิพลต่อ อัลดัส ฮักซเลย์ (Aldous Huxley) ผู้ที่กล่าวว่า Brave New World นวนิยายเรื่องดังของเขาได้รับแรงบันดาลใจจาก 'เอเรวอน' เล่มนี้
✅ ได้รับคำชื่นชมจากทั้ง จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) และ อี. เอ็ม. ฟอร์สเตอร์ (E.M. Forster)

============

หนังสือทั้ง 10 เล่ม จากนักเขียน 10 คน -- พูดได้อย่างเต็มปากว่า Classic -- Classic is always Modern.


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้