ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ

Last updated: 19 พ.ค. 2564  |  15059 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โหลดฟรีบทความปรัชญาตะวันออก

สั่งซื้อได้แล้ววันนี้

หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984) ฉบับครบรอบ 72 ปี ครบชุดการออกแบบ - 4 ปก




ฟ้าบ่กั้น ฉบับพิเศษ ในวาระ 90 ปี ลาว คำหอม

ฟ้าบ่กั้น หนังสือสุดคลาสสิคของไทย วรรณกรรมแห่งฤดูกาล รวมเรื่องสั้นว่าด้วยความยากไร้และคับแค้นของสังคมไทย | ถูกแปลเป็นภาษาต่างประเทศมากมาย | ยังเหมาะแก่การอ่านในทุกยุคทุกสมัย กล่าวได้ว่า ชะตากรรมของตัวละครในทุกเรื่องสั้นยังไม่เคยตกยุคหรือล้าสมัย ...เมื่อฟ้าไม่เคยกลั่นแกล้งคน หากแต่คนบนฟ้าต่างหากที่หวงแหนอำนาจและกดขี่...


=========

รวมบทความเกี่ยวกับ 'ปรัชญาตะวันออก' ที่น่าสนใจ สามารถโหลดได้แบบฟรีๆ ผลงานจากหลากหลายท่านในประเด็นที่แตกต่างกันไป

สุวรรณา สถาอานันท์ . ชาญณรงค์ บุญหนุน . ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ . สุมาลัย กาลวิบูลย์ . นวภู แซ่ตั้ง . สมภาร พรมทา . สรชัย ศรีนิศานต์สกุล . สุคนธิการ์ จินะเป็งกาศ . วิโรจน์ อินทนนท์ . วนัสนันท์ ขุนพล


1. ความรื่นรมย์ ความรัก และความโศกเศร้าในปรัชญาขงจื่อ : บทวิเคราะห์เหยียนหุย
— สุวรรณา สถาอานันท์

"การยืนยันคุณค่าของศิษย์รักอย่างเหยียนหุยเป็นการยืนยันวิถีแห่งการมีชีวิตที่ดีและชีวิตที่มีมนุษยธรรมในโครงการทางปรัชญาของขงจื่อ"

https://bit.ly/32v2bUd
============

2. พุทธศาสนากับอารมณ์
— ชาญณรงค์ บุญหนุน (หน้า 26-104)

"ท่าทีและวิธีการจัดการอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ ... เป็นสิ่งที่ควรจะถอดออกมาเป็นบทเรียน เพื่อจะได้รู้ว่า พระพุทธเจ้า สัพพัญญูผู้รู้แจ้ง ทรงมีอุบายหรือกลวิธีในการจัดการหรือปรับทิศทางอารมณ์ของมนุษย์ ในลักษณะที่ก่อให้เกิดผลเชิงบวกต่อชีวิตหรือมีชีวิตที่ดีได้อย่างไร"

https://bit.ly/32uR7qd
============

3. อารมณ์และคุณธรรมหลักทั้งสี่ในจริยศาสตร์เมิ่งจื่อ
— ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ (หน้า 139-219)

"มนุษย์มีเชื้อหน่อในจิต/ใจที่มีแนวโน้มทางศีลธรรมตามธรรมชาติอยู่ก่อน แต่แนวโน้มทางศีลธรรมนั้น จะไม่อาจงอกเงยหรือพัฒนาไปสู่คุณธรรมได้ถ้าไม่ผ่านกระบวนการทางสังคมหรือครอบครัวเป็นรากฐานด้วย ... การที่มนุษย์มีพฤติกรรมที่ไม่ดี จึงมิใช่เพราะมนุษย์มีธรรมชาติที่เลว แต่เป็นเพราะมนุษย์ไม่อาจรักษาจิต/ใจดั้งเดิมไว้ได้"

https://bit.ly/32uR7qd
============

4. รอยยิ้มและน้ำตาของขงจื่อ: ความยินดีและความโศกเศร้าในชีวิตทางจริยธรรม
— สุวรรณา สถาอานันท์ (220-267)

"การพิจารณาอารมณ์แห่งความรื่นรมย์ยินดีและอารมณ์แห่งความโศกเศร้าสูญเสียในชีวิตทางจริยธรรมในปรัชญาขงจื่อ ไม่เพียงแต่จะช่วยพัฒนาแนวอธิบายปรัชญาขงจื่อในฐานะ 'ระบบจริยศาสตร์' ที่สามารถสื่อสารกับปรัชญาตะวันตกร่วมสมัยอย่างเช่นบทวิเคราะห์ของคริสทีน คอร์สการ์ดเท่านั้น หากยังช่วยเปิดช่องทางให้พิจารณามิติอารมณ์ความรู้สึกในการทำความเข้าใจจริยศาสตร์และข้อถกเถียงเกี่ยวกับชีวิตที่ดีในจริยศาสตร์ร่วมสมัยด้วย"

https://bit.ly/32uR7qd
============

5. ชีวิตหลังความตายในพุทธศาสนา
— สุมาลัย กาลวิบูลย์

"จากการตรวจสอบทั้งก่อนและหลังพุทธกาล เห็นตรงกันว่า ชีวิตไม่ได้สิ้นสุดที่ความตาย แต่ความตายเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของชีวิตใหม่ แม้เป็นสิ่งที่หลายคนกลัว และหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึง แต่พุทธศาสนากลับกล่าวถึงความตายเพื่อเป็นการเตือนสติศาสนิกไม่ให้ประมาท"

https://bit.ly/30rYvju
============

6. ประชาธิปไตยกับปรัชญาขงจื่อ
— นวภู แซ่ตั้ง

"บุคคลสามารถที่จะปฏิบัติตามปรัชญาขงจื่อได้ในบริบทที่ไม่กระทบต่อสิทธิของบุคคลอื่นที่จะสามารถตัดสินใจเกี่ยวกับจุดหมายของตัวเองได้อย่างเท่าเทียมกับเรา ในแง่นี้ประชาธิปไตยก็ต้องเคารพการเลือกของปัจเจกบุคคล ในขณะที่ปรัชญาขงจื่อก็จำเป็นต้องยอมเสียอัตลักษณ์ทางสังคมบางประการไปด้วยเช่นกัน"

https://bit.ly/30v9x7o
============

7. กาลและอวกาศในพุทธปรัชญาเถรวาท
— สมภาร พรมทา

"หลักคำสอนส่วนที่เป็นอภิปรัชญานี้ไม่อาจนำมาปฏิบัติให้เกิดผลกล่าวคือการดับทุกข์ในชีวิต แต่มันคือรากฐานทางปรัชญาของหลักคำสอนส่วนที่สามารถนำผู้ปฏิบัติไปสู่การดับทุกข์ในชีวิตได้ ... หลักคำสอนเกี่ยวกับกาลและอวกาศนี่เองคือรากฐานสำหรับการค้นหาคำตอบต่อคำถามบางคำถามที่หลักจริยปฏิบัติไม่อาจตอบได้"

https://bit.ly/30tuIqD
============

8. ภาษาและความเป็นจริงในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง และคัมภีร์จวงจื๊อ
— ศริญญา อรุณขจรศักดิ์

"คัมภีร์เต๋าเต๋อจิงมองว่าการกำหนดนามคือการทำให้สิ่งที่นามบ่งถึงมีสภาวะและคงที่ตายตัว แต่ความเป็นจริงหรือ 'เต๋า' เป็นกระบวนการของการแปรเปลี่ยนไปมาระหว่าง 'การมีสภาวะ' และ 'การไร้สภาวะ' ดังนั้นภาษาจึงไม่สามารถเป็นกระจกที่สะท้อนความเป็นจริงได้ นาม 'เต๋า' จึงเป็นเพียงนามสมมติเท่านั้น ... คัมภีร์จวงจื๊อจึงมองภาษาเป็นเหมือน 'อาคันตุกะ' ของความเป็นจริง แสดงว่าภาษาสามารถบ่งถึงความเป็นจริงได้ แต่ไม่แน่นอนตงที่ เพราะภาษาเพียงแวะเวียนมา และก็ต้องจากความเป็นจริงไป"

https://bit.ly/3989HFU
============

9. บทวิเคราะห์ธรรมาภิบาลตามแนวคิดปรัชญาเต๋า
— สรชัย ศรีนิศานต์สกุล

"เต๋ากลับมุ่งนำเสนอการปกครองที่สอดคล้องกับวิถีทางแห่งธรรมชาติ นั่นคือผู้ปกครอง และผู้อยู่ใต้ปกครองไม่แปลกแยกออกจากกัน ดังนั้นปรัชญาเต๋าจึงไม่ได้มุ่งแสวงหาอุดมการณ์ทางการเมือง และสร้างเสริมกฎระเบียบต่างๆแต่กลับมุ่งแสวงหาความชอบธรรมในการปกครองนั่นเอง"

https://bit.ly/3jlyGu7
============

10. การวิเคราะห์แนวคิดมนุษยนิยมในปรัชญาเต๋า
— สุคนธิการ์ จินะเป็งกาศ และ วิโรจน์ อินทนนท์

"นักปรัชญาเต๋าให้ ความหมาย มนุษย์ในแนวทางเดียวกับนักมนุษยนิยมว่ามนุษย์มีสักยภาพทางปัญญาจึงสามารถพัฒนาตนเองได้ แต่ไม่ได้มองว่ามนุษย์สูงส่งกว่าสิ่งอื่นใดตามแนวคิดของกระแสหลักแบบมนุษยนิยม ปรัชญาเต๋ามองมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่งในโลกอันแปรเปลี่ยน

https://bit.ly/30kZrWM
============

11. ภาษากับการบรรลุธรรมในปรัชญาเซ็น
— สุวรรณา สถาอานันท์

"การปฏิเสธ 'เหตุผล' ของพุทธศาสนานิกายเซ็นเป็นสิ่งที่มีเหตุผล (REASON) อันหนักแน่น มีพื้นฐานทางปรัชญาอันลึกซึ้งรองรับอยู่"

https://bit.ly/2ODiZAn
============

12. อารมณ์ขันกับการเล่นในจวงจื่อ
— วนัสนันท์ ขุนพล

"อารมณ์ขันที่แสดงออกถึงการเข้าใจโลกและเป็นอิสระจึงไม่เพียงแต่ทำให้มนุษย์รู้ถึงความจริงบางอย่าง หรือได้รับประสบการณ์ที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต อารมณ์ขันในท่าทีดังกล่าวยังได้สร้างกระบวนการขัดเกลามนุษย์แต่ละคนให้สามารถใช้ชีวิตและผดุงชีวิตของตนเองได้อย่างกลมกลืนและสัมพันธ์กับธรรมชาติหรือโลกที่เขาอยู่"

https://bit.ly/3hg8E9H
============

13. ข้อสังเกตต่อปรัชญาจวงจื่อ: อ่านจวงจื่อผ่านแว่นหลังสมัยใหม่
— นวภู แซ่ตั้ง

"สิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างจวงจื่อและหลังสมัยใหม่คือความพยายามในการถอดรื้อสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเรื่องเล่าขนาดใหญ่อันทรงพลัง และมีอำนาจในการนิยามสิ่งต่างๆ ในฐานะความจริง ความถูกต้อง ความปกติ หรือความเป็นธรรมชาติ โดยทั้งสองพยายามเผยให้เห็นสิ่งที่อยู่กดทับอยู่เบื้องหลัง และนำตัวมันเองออกมาตั้งคำถามต่อความชอบธรรมของอำนาจในการนิยามของเรื่องเล่าขนาดใหญ่"

https://bit.ly/3jlAKST
============


// สนพ.สมมติตีพิมพ์รวมบทความเกี่ยวกับ ปรัชญาตะวันออก  //  เนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการ ศ.ดร.สุวรรณา สถาอานันท์

คลิกดูรายละเอียดและสั่งซื้อได้ที่รูปภาพ



'ดั่งสลักและขัดเงา' รวบรวมประเด็นที่น่าสนใจ ทั้งปรัชญาศาสนาและปรัชญาจีน เป็นรวมบทความวิชาการ 9 บทความจากคณะลูกศิษย์ของ อาจารย์สุวรรณา สถาอานันท์ ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาทั้งสองอย่างลึกซึ้ง

นี่ไม่ใช่ตำราสำเร็จรูปทางปรัชญา หากแต่เป็นการสนทนาเพื่อค้นหา 'ความจริง' เช่นเรื่องศาสดา โลก มนุษย์ และผู้หญิง เป็นบทสนทนาระหว่างศิษย์และอาจารย์เพื่อเรียนรู้และต่อยอดความคิด

อีกทั้งยังเป็น 'สื่อ' ให้ผู้อ่านร่วม 'สนทนา' ทางปรัชญาต่อผู้เขียนทั้ง 9 คน ในการ 'แสวงหาความรู้' ใหม่อีกเช่นกัน
==============================

สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านปรัชญา การเมือง รัฐศาสตร์ 

ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ

// Set เรียนรู้การเมืองไทย
 //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด
 //
// Set บทสรุปทางความคิดของนักคิดระดับโลก
 //
// Set เข้าใจการเมือง เข้าถึงประชาชน // 

==============================

บทความที่คุณน่าจะชอบ

คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /
สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
ธงชัย  วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /

==================

สำนักพิมพ์สมมติแจก Code ส่วนลด **จำนวนจำกัด**

ส่วนลด 100.-  เพียงใส่ code READER100 | เมื่อช้อปครบ 900.-
ส่วนลด 200.-  เพียงใส่ code READER200 | เมื่อช้อปครบ 1,500.-



พบกับ 'หนังสือดี ราคาโดน' ที่ 'ลดแล้ว ลดอีก' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่จัดชุดหนังสืออย่างพิถีพิถัน มากกว่า 40 ชุด จากหนังสือกว่า 100 ปก ในราคาสุดพิเศษ

โปรดอย่ารอช้า หนังสือบางเล่มเหลือจำนวนจำกัด

หนังสือดี! ราคาโดน! ที่ผู้อ่านไม่ควรพลาดด้วยประการทั้งปวง!!!

คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/category/3755/special-set


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้