Last updated: 24 มิ.ย. 2565 | 20631 จำนวนผู้เข้าชม |
ท่าน 'รื้อ' / เรา 'สร้าง'
ท่าน 'ลบ' / เรา 'ไม่ลืม'
เริ่มจากเมษายน พ.ศ.2560 | หมุดคณะราษฎรในลานพระบรมรูปทรงม้าหายไปอย่างมีเงื่อนงำ จนปัจจุบันก็ยังไม่ทราบว่าไปอยู่ที่ใด
"24 มิถุนายน 2475 เวลาย่ำรุ่ง ณ ที่นี้ คณะราษฎรได้ก่อกำเนิดรัฐธรรมนูญเพื่อความเจริญของชาติ”
นี่คือข้อความที่สลักอยู่บนหมุดคณะราษฎร จุดเริ่มต้นของการก่อตั้งระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กล่าวกับบีบีซีไทยว่า การปักหมุดคณะราษฎร เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2475 เป็นเรื่องสำคัญมากของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองที่แทบจะไม่เสียเลือดเนื้อ สะท้อนให้เห็นถึงความประนีประนอมของคณะราษฎร และกลุ่มอำนาจเก่าหรือคณะเจ้า
"การที่มีบุคคลถอดหมุดดังกล่าวออก ซึ่งคาดว่าต้องเป็นฝ่ายต่อต้านประชาธิปไตย เป็นนัยสำคัญของความไม่ต้องการประนีประนอม ไม่ต้องการปรองดองและการปฏิรูป" ศ.พิเศษ ดร.ชาญวิทย์กล่าว
นายบุญเกียรติ การะเวกพันธุ์ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวว่าการถอดหมุดคณะราษฎร แล้วเปลี่ยนเป็นอันใหม่นั้น สะท้อนให้เห็นว่ามีผู้ต้องการลบประวัติศาสตร์สำคัญของไทย โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตย และทำให้การตระหนักรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยเลือนหายไป
"ส่วนตัวเชื่อว่าคนไทยไม่ค่อยรู้จักประวัติศาสตร์ไทย สังคมไทยไม่เรียนรู้ข้อดีข้อเสียที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ และพัฒนาการของประชาธิปไตยในห้วงเวลาที่ผ่านมา จึงทำให้สังคมไทยยังตกอยู่ในวงจรรัฐประหาร มีการยึดอำนาจ จัดการเลือกตั้ง และฉีกรัฐธรรมนูญ ไม่รู้จบ" นายบุญเกียรติกล่าว
(ข้อมูลจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-39608193)
============
ต่อมา 28 ธันวาคม พ.ศ.2561 | อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญหรืออนุสาวรีย์ปราบกบฏบวรเดช 2476 ที่ตั้งอยู่กลางบริเวณวงเวียนหลักสี่ ย่านบางเขน กทม. ก็หายไปอีกเช่นกัน
ที่มาของอนุสาวรีย์ฯ สืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2476 เมื่อมีบุคคลคณะหนึ่งประกอบด้วยทหารและพลเรือน เรียกตัวเองว่า “คณะกู้บ้านเมือง” มี นายพลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เป็นผู้นำ ได้นำทหารจำนวนมากจากหัวเมืองมายึดบริเวณดอนเมือง เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกและปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของคณะกู้บ้านเมือง ขณะที่ฝ่ายรัฐบาลได้ส่งตัวแทนไปเจรจากับคณะกู้บ้านเมืองให้ล้มเลิกความคิดล้มล้างรัฐบาล และถอนทหารกลับสู่ที่ตั้ง แต่กลับไม่เป็นผล
ดังนั้น พระยาพหลฯ จึงตั้งให้หลวงพิบูลสงครามเป็นแม่ทัพคุมกำลังทหารออกปราบปรามฝ่ายคณะกู้บ้านเมือง โดยมีการปะทะกันที่บางเขนตั้งแต่วันที่ 12 - 16 ต.ค. 2476 ต่อมาฝ่ายคณะกู้บ้านเมืองได้พ่ายแพ้ พระองค์เจ้าบวรเดชทรงลี้ภัยไปอินโดจีน แต่อย่างไรก็ตาม ฝ่ายรัฐบาลได้สูญเสียทหารและตำรวจจำนวน 17 นาย ในการปกป้องกฏหมายรัฐธรรมนูญในครั้งนี้
หลังเหตุการณ์สงบเรียบร้อย รัฐบาลได้นำศพของผู้เสียชีวิตมาทำบุญอุทิศส่วนกุศล ณ วัดราชาธิวาส และได้จัดพิธีฌาปนกิจอย่างยิ่งใหญ่ ณ ท้องสนามหลวงอย่างสมเกียรติในฐานะวีรชนของชาติ ในวันที่ 18 ก.พ.2477
จากนั้นได้บรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตไว้ในปลอกกระสุนปืนใหญ่ทองเหลืองตามประเพณีของทหารและตั้งไว้ที่กรมกองต้นสังกัดของเหล่าทหารและตำรวจทั้ง 17 นาย เป็นเวลา 3 ปี ต่อมาราชการได้สร้างอนุสาวรีย์ปราบกบฏ ที่ตำบลหลักสี่ อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร จึงได้นำอัฐิของวีรชน 17 นาย มาบรรจุไว้ที่อนุสาวรีย์แห่งนี้
(ข้อมูลจาก https://prachatai.com/journal/2018/12/80289)
============
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2563 | อนุสาวรีย์พระยาพหลที่ลานหน้าสโมสรนายทหาร ค่ายพหลโยธิน หายไป จากการรายงานข่าวของผู้สื่อข่าวประชาไทเดินทางไปตรวจสอบที่ศูนย์การทหารปืนใหญ่ (https://prachatai.com/journal/2020/01/86104)
ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 บีบีซีไทย รายงานโดยอ้าง พ.ต.พุทธินาถ พหลพลพยุหเสนา บุตรชายคนที่ 4 ของพระยาพหลฯ ให้ข้อมูลว่าศูนย์การทหารปืนใหญ่ จะจัดพิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์ เพื่อที่จะทำการย้ายอนุสาวรีย์ทั้งออกในเดือน ม.ค. แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะเป็นการรื้อออกหรือจัดเก็บไว้ยังสถานที่ใด
และในวันเดียวกัน | ผู้สื่อข่าวที่ลงพื้นที่ตรวจสอบรายงานว่า ไม่พบ 'อนุสาวรีย์จอมพล ป. พิบูลสงคราม' บริเวณด้านหน้าอาคารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ บก.สปท
[สำหรับพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นหัวหน้าคณะราษฎร ผู้นำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเขายังเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของไทย ส่วน จอมพล ป. เป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎรและภายหลังยังดำรงตำแหน่งนายกฯ ของไทยด้วย]
============
ล่าสุด วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 | ณ จังหวัดเชียงราย ป้ายข้อความ 'บ้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม' หายไป จากหลักฐานภาพถ่ายของ อานนท์ นำภา ทนายความและนักกิจกรรมสิทธิมนุษยชน
โดยข้อความ "บ้านจอมพล ป. พิบูลสงคราม" ถูกเปลี่ยนไปเป็น "ศูนย์เรียนรู้เชิงประวัติศาตร์"
(ข้อมูลจาก https://prachatai.com/journal/2020/02/86171)
============
จาก เม.ย. 2560 ถึง ก.พ. 2563
พวกท่านอาจจะหลงลืมไปว่า 'การลบประวัติศาสตร์' ก็คือ 'การสร้างประวัติศาสตร์' อีกชิ้นหนึ่งขึ้นมา
ท่าน 'รื้อ' / เราจะ 'สร้าง'
ท่าน 'ลบ' / เราจะ 'ไม่ลืม'
==================
=============================
3. เสื้อยืดสังคมไทย (ข้อเขียนของวัฒน์ วรรลยางกูร)
======
เลือกซื้อ 'หนังสือดี ราคาโดน' คัดเน้นๆ มาให้ผู้อ่านเลือกสรรกันอย่างครบรส ทุกหมวดหมู่
คลิกเลือกซื้อได้ที่ https://www.sm-thaipublishing.com/category/3755/special-set
ทั้งหนังสือวิชาการและปรัชญา / หนังสือแปล / วรรณกรรมคลาสสิค / วรรณกรรมไทย