Last updated: 30 พ.ค. 2563 | 2947 จำนวนผู้เข้าชม |
ยาลมาร์ โซเดอร์เบิร์ก (Hjalmar Söderberg: 1869 - 1941) นักเขียน กวี และนักเขียนบทละครชาวสวีเดนผู้โด่งดัง เกิดเมื่อ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1869 ที่เมืองสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน
โซเดอร์เบิร์กได้ชื่อว่าเป็น อนาโตล ฟร็องซ์ (Anatole France: 1844-1924) แห่งสวีเดน และจัดเป็นนักเขียนในกลุ่ม 'เปลี่ยนศตวรรษ' จุดเด่นของวรรณกรรมช่วงเปลี่ยนศตวรรษคือความเชื่อที่ว่า ชีวภาพเป็นตัวกำหนดสรรพสิ่งต่างๆ มาแน่นอนแล้ว ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 19 ทำให้พระเจ้าลดความสำคัญลง มนุษยชาติเป็นเพียงผลจากพันธุกรรม การเลี้ยงดู และสภาพแวดล้อม
นักเขียนในช่วงเปลี่ยนศตวรรษและโซเดอร์เบิร์ก ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากนักเขียนต่างชาติ เช่น Charles Baudelaire, Paul Verlaine. Arthur Rimbaud, Oscar Wilde และ Rainer Maria Rilke
โซเดอร์เบิร์กและนักเขียนในช่วงเปลี่ยนศตวรรษคนอื่นๆ เขียนเรื่องร่วมสมัยโดยใช้ฉากเมือง แทนที่จะเป็นเรื่องย้อนอดีตในฉากชนบท นิยายของโซเดอร์เบิร์กเกิดขึ้นที่เมืองสตอกโฮล์มซึ่งเขาบรรยายชีวิตต่างๆ จากผู้สังเกตที่อยู่ไกลและไม่เข้าไปมีส่วนร่วม
ตัวละครของเขามักจะสำอาง และให้ความสำคัญกับการแต่งกายและรสนิยมทางแฟชั่นได้มากเท่ากับคำถามเรื่องการดำรงอยู่ของมนุษย์
ผลงานสร้างชื่อของโซเดอร์เบิร์กคือเรื่อง 'บันทึกของคนเสื้อขาว' (Doctor Glas: 1905) ที่สร้างความตกใจให้แก่สังคมสวีเดน ด้วยเนื้อเรื่องมีประเด็นที่อื้อฉาว แต่กลับไม่ล้าสมัยแม้แต่น้อย เพราะมันสื่อถึงสภาพสังคมในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี
'บันทึกของคนเสื้อขาว' เป็นผลงานที่ลุ่มลึกที่สุดของโซเดอร์เบิร์ก ดำเนินเรื่องในรูปแบบบันทึกประจำวัน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจเหตุผลและแรงจูงใจของตัวละคร - กลาส ได้อย่างลึกซึ้ง และทำให้น่าติดตามไปตลอดทั้งเรื่อง ผลงานชิ้นนี้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น 'วรรณกรรมสวีเดนที่ดีที่สุด’ เรื่องหนึ่ง
The New York Times Book Review กล่าวไว้ว่า "นักเขียนในยุคนี้ยังคงใช้ Doctor Glas เป็นแผนที่สำหรับการค้นหา 'ความเป็นไปของยุคสมัย' และเป็นเหมือน 'ภูเขาไฟ' ที่สั่นไหวและใกล้เวลาปะทุ"
สนพ.สมมติชวนอ่าน 'บันทึกของคนเสื้อขาว' หรือ Doctor Glas งานเขียนที่มีความคลาสสิคและลุ่มลึกที่สุดในประวัติศาสตร์สวีเดน!
บันทึกของคนเสื้อขาว (Doctor Glas)
วรรณกรรมในวงเล็บลำดับที่ 6
ยาลมาร์ โซเดอร์เบิร์ก (Hjalmar Söderberg) : เขียน
ประสิทธิ์ ตั้งมหาสถิตกุล : แปล
คำ ผกา : บทกล่าวตาม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
พิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม 2554
ความหนา : 224 หน้า
ISBN 978-616-7196-06-0
26 ก.ย. 2565
16 ก.ย. 2565
25 ก.ย. 2565
26 ส.ค. 2565