Last updated: 3 เม.ย 2566 | 699 จำนวนผู้เข้าชม |
การเมืองไทยทำให้เห็นการต่อสู้ทางอำนาจระหว่างกลุ่มย่อยทางสังคมต่างๆ ภายในชุมชนศีลธรรมหลังการปฏิวัติ 2475 โดยเฉพาะอย่างยิ่งความขัดแย้งในผลประโยชน์และความชอบธรรมทางการเมือง
กล่าวคือ ผู้นำทางการเมืองไทยต้องต่อสู้และสร้างความชอบธรรมให้แก่อำนาจการปกครองและการเมืองของตนบนฐานอำนาจของกษัตริย์ในวัฒนธรรมการเมืองไทย
ในขณะเดียวกัน สถาบันกษัตริย์ต้องร่วมมือกับชนชั้นนำอนุรักษนิยมเจ้าและผู้นำทางทหาร เพื่อรักษาไว้ซึ่งอำนาจความชอบธรรม บทบาท และสถานะในฐานะส่วนสำคัญของระเบียบทางการเมืองและสังคมไทย
ในอีกทางหนึ่งก็ได้ผลิตซ้ำอุดมการณ์ราชาชาตินิยมที่ประสานเข้ากับแนวคิดประชาธิปไตยไทยและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะหลังการรัฐประหาร พ.ศ.2500 โดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์
...
กษัตริย์มีบทบาทสำคัญต่อการสร้างและผลิตซ้ำชุมชนศีลธรรมในสังคมไทย โดยสร้างชุดความคิดว่าประเทศและสังคมไทยไม่อาจอยู่รอดได้หากปราศจากการปฏิบัติตามธรรมของพระราชาที่ทรงเป็นแบบอย่างให้คนในสังคม
ส่วนการเมืองและประชาธิปไตยแบบตะวันตกที่รับมาตั้งแต่การปฏิวัติ 2475 ได้ถูกทำให้กลายเป็นสิ่งที่สร้างความขัดแย้งและทำให้คนไทยแตกแยก ทั้งขัดขวางการพัฒนาและความก้าวหน้าของประชาชน รวมถึงไม่ใช่สิ่งที่สร้างความยุติธรรมและสันติภาพในสังคมไทยได้
...
ความชอบธรรมทางอำนาจการเมืองของไทยไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของฉันทมติทางการเมืองของสังคม รัฐบาลประชาธิปไตย และสถาบันทางกฎหมาย แต่เป็นอำนาจที่อยู่บนพื้นฐานของบริบทวัฒนธรรมทางการเมือง โดยเฉพาะอำนาจบารมีของสถาบันกษัตริย์ในชุมชนศีลธรรม
...
ปัญหาสำคัญของความขัดแย้งทางการเมืองไทยที่ยืดเยื้อและหยั่งรากลึกหลังรัฐประหาร พ.ศ.2549 คือการพยายามช่วงชิงความหมายทางการเมืองและคุณค่าในสังคมซึ่งทำให้เกิดความซับซ้อนในวิธีคิดทางการเมืองและประชาธิปไตยของไทยมากขึ้น และส่งผลกระทบอย่างสำคัญต่อ ‘ปัญหาความชอบธรรมทางการเมืองของรัฐไทยสมัยใหม่’
..,
บางส่วนจาก บทนำ ในเล่ม มหาบุรุษแห่งชุมชนศีลธรรม
วัฒนธรรมอำนาจนิยมและอารมณ์เชิงวัฒนธรรมไทย
ธัญณ์ณภัทร์ เจริญพานิช : เขียน
ยศ สันตสมบัติ และ ไทเรล ฮาเบอร์คอร์น : คำนิยม
สั่งซื้อหนังสือ คลิก