เสือป่า หลักฐานความขัดแย้งของรัชกาลที่ 6 กับทหาร?

Last updated: 1 มิ.ย. 2566  |  2241 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เสือป่า หลักฐานความขัดแย้งของรัชกาลที่ 6 กับทหาร?

จุดประสงค์ของการตั้งเสือป่า ด้านแรกคือเป็นการยืนยันว่าพระองค์ในฐานะขององค์อธิปัตย์นั้นทรงเป็นผู้ 'กำหนด' วิถีแห่งประวัติศาสตร์ หรือเป็นผู้นำทาง ปรากฏว่าเมื่อพระองค์ทรงรู้สึกว่าการตั้งเสือป่าได้ประสบผลดี พระองค์ทรงพระราชปรารภว่า "รู้สึกว่าถึงอย่างไรๆ ก็จะได้เขียนชื่อตัวเองไว้ในพงศาวดารตำนานของชาติไทยแล้ว"

และอีกด้านหนึ่งที่สอดคล้องกันไปคือเป็นการสลายความสำนึกเชิงปัจเจกชนของคนในรัฐ เพื่อทำให้ทุกคนยอมรับการ 'กำหนด' ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งรัชสมัยของพระองค์สำนึกเชิงปัจเจกชนในกลุ่มคนเบื้องล่างเริ่มแรงขึ้น ทำให้การสลายปัจเจกชนที่เป็นกระบวนการทางการเมืองที่สำคัญนั้นต้องเข้มข้นตามไปด้วย

และนอกจากการต่อต้านสำนึกเชิงปัจเจกชนแล้ว ก็ยังประกอบไปด้วยการเน้นให้บุคคลสำนึกที่จะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ของตน เพื่อส่งผลให้เกิด 'ผลรวมของหน่วยย่อย' ในสังคมอีกด้วย ทั้งหมดนี้มีดำรงอยู่ใน 'เสือป่า' ทั้งในกระบวนการปฏิบัติการของเสือป่า และการถ่ายทอดสำนึกทางประวัติศาสตร์แก่เสือป่า ทั้งหมดนี้มีความต่อเนื่องมาจากรัชสมัยก่อนหน้า แต่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาวะแวดล้อมด้วย...

ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้บังคับบัญชาระดับต่างๆ ของเสือป่า มักจะเป็นข้าราชการผู้น้อยที่มีความสนิทใกล้ชิดพระองค์ ส่วนพระราชวงศ์หรือข้าราชการชั้นสูง มักถูกกีดกันให้ได้รับตำแหน่งที่ไม่มีความสำคัญในสายตาผู้บังคับบัญชา และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงย้ำว่าเสือป่าจะต้องเชื่อฟังผู้บังคับบัญชาผู้เป็นหัวหน้าของตน ไม่ว่าผู้นั้นมียศ มีตำแหน่งทางราชการสูงหรือต่ำกว่าตนในเวลาปกติ

สมาชิกเสือป่าทุกคนไม่ว่าจะเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง หรือสามัญชนโดยทั่วไป ต้องปฏิบัติตนในข้อนี้เหมือนกันหมดไม่มีข้อยกเว้น กระบวนการนี้มีความสำคัญอย่างไพศาลต่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เพราะนอกจากจะเป็นการสลายสำนึกเชิงปัจเจกชนแล้วยังเป็นการแก้ปัญหาทางการเมืองที่พระองค์ประสบอยู่คือความรู้สึกของพระองค์ ที่ว่าความจงรักภักดีของข้าราชการไปอยู่ที่เสนาบดีเจ้ากระทรวง...

กระบวนการแต่งตั้งข้าราชการชั้นผู้น้อยเป็นผู้บังคับบัญชาเสือป่าระดับต่างๆ เป็นการยืนยันอย่างเข้มแข็งต่อข้าราชการทั้งหลายทั้งปวงว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ก่อเกิดยศศักดิ์ทั้งหลาย รวมทั้งการที่จะทำให้ผู้ใหญ่เป็นผู้น้อย ผู้น้อยเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่ว่ายศศักดิ์นั้นจะเกิดเพราะตัวข้าราชการเอง ซึ่งพระองค์ก็ทรงแสดงพระราชดำริในทำนองเดียวกับที่ทรงปฏิบัติไว้ในงานพระราชนิพนธ์เรื่อง หลักราชการในปี พ.ศ.2457 ที่ทรงย้ำว่าข้าราชการรุ่นใหม่ที่ทรนงว่าคนมีความรู้และคาดหวังว่าจะได้รับความสำเร็จในวงราชการ จะต้องเข้าใจว่าวิชาการความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอ จะต้องประกอบไปด้วยคุณสมบัติอีกหลายประการ และข้อที่ถือว่าเป็นคุณวิเศษที่จะทำให้ประสบกับความเจริญก้าวหน้าได้คือ ความจงรักภักดี
..,

บางส่วนจากหัวข้อ 'การเมืองในรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์
 ในเล่ม การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475



โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
=====

คลิกสั่งซื้อชุดหนังสือประวัติศาสตร์ที๋โรงเรียนไม่ได้สอน พร้อมให้คุณเบิกเนตรและตาสว่าง ในราคาพิเศษ



1. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทยตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475:
ประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปรสำนึก จากกษัตริย์ สู่ชนชั้นนำ ถึงปัจเจกชนและสามัญชน
●— อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
450 บาท


2. ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ :
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)
●— ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
300 บาท


3. บทสำรวจวาทกรรมชนบทและบ้านนอกในความเป็นไทย : 
รื้อ - สร้าง - ทบทวน สำนึกและมายาคติต่อความขัดแย้งและความเหลื่อมล้ำของชนบทกับเมือง ตั้งแต่ไพร่ ชาวนา คนเสื้อแดง ถึงชนชั้นกลางใหม่ (On Countryside)
●— สามชาย ศรีสันต์ 
300 บาท

4. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย :  
บทความวิเคราะห์และตีความ ว่าด้วยความคิดของไพร่กระฎุมพีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะก้าวผ่านจากสังคมไทยเดิม มาสู่การเป็นสังคมสมัยใหม่ (On Bourgeoisie)
●— ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ 
450 บาท

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้