Set ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

คุณสมบัติสินค้า:

รวมผลงานของ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์

หมวดหมู่ : Special Set งานวิชาการ

Share


รวมหนังสือของ ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ 
นักวิชาการที่ศึกษาประวัติศาสตร์ ตีแผ่อำนาจไม่ชอบธรรมและความไม่เท่าเทียมกันในสังคม


1. ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ
ว่าด้วยการท่องเที่ยว ในฐานะมรดกแห่งการสร้างชาติของรัฐไทย จากรัฐจารีต สงครามเวียดนาม สู่ยุครัฐประหาร 2549 (On Thai Tourism)

  • การเดินทางและท่องเที่ยวในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อใด??
  • ใครเป็นผู้กำหนดให้คุณสามารถท่องเที่ยว??
  • รู้หรือไม่ว่า การท่องเที่ยวเกี่ยวข้องกับชนชั้นและความสัมพันธ์เชิงอำนาจแทบทั้งสิ้น??
  • อะไรคือรากฐานที่แท้จริงของการท่องเที่ยวไทย??


ประวัติศาสตร์แห่งการเดินทางและภูมิศาสตร์การเมืองในรอบศตวรรษ เป็นหนังสือความรู้ในเชิงประวัติศาสตร์ พูดถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจของการท่องเที่ยวที่ดำรงอยู่ในสังคมไทยผ่านสถานภาพของชนชั้นในสังคม

ที่จริงแล้วอำนาจเป็นตัวกำหนดความสามารถในการเดินทางและเข้าถึงสถานที่ต่างๆ หนังสือเล่มนี้ฉายภาพให้เห็นว่า การท่องเที่ยวไปในแดนต่างๆ สะท้อนให้เห็นพลานุภาพของอำนาจทางการเมืองอย่างไร

แต่ละยุคสมัยมีเงื่อนไขและปัจจัยที่ส่งผลต่อการเดินทางและการท่องเที่ยวที่แตกต่างกัน การเกิดขึ้นของแหล่งท่องเที่ยวหรือการกลายเป็นที่นิยม จึงขึ้นอยู่กับสาเหตุที่แตกต่างกันไปด้วย

การอธิบายลักษณะเฉพาะและความเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ ใช้กรอบศึกษาทางประวัติศาสตร์ในการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน โดยขยายพื้นที่ของประวัติศาสตร์สังคมอันจะแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางสังคมและผู้คนในยุคสมัยต่างๆ พร้อมไปกับนโยบายของรัฐกับบทบาทที่ขยายตัวขึ้นอย่างมากในช่วงหลังสงครามเย็น อันกลายเป็นรากฐานสำคัญของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในทุกวันนี้...

== ทดลองอ่าน ==

1. บทกล่าวนำ การท่องเที่ยวหลังโรคระบาด ความพังพินาศของสามัญชนกับทางรอดเศรษฐกิจไทย

คลิก  https://www.sm-thaipublishing.com/content/8736/pinyapan-intro-thai-tourism

2. ท่องเที่ยวไทยเริ่มจากไหน?

คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/9924/pinyapan-thai-tourism

-----------------------

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ : เขียน
วริศ ลิขิตอนุสรณ์ : บรรณาธิการเล่ม
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก ตุลาคม 2563
ความหนา : 272 หน้า
ISBN 978-616-562-013-0


- สารบัญ -

คำนำ

บทกล่าวนำ | ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์
การท่องเที่ยวหลังโรคระบาด ความพังพินาศของสามัญชนกับทางรอดเศรษฐกิจไทย

บทนำ

บทที่ 1 นิราศและยาตรา การเดินทางแห่งยุคจารีต (ทศวรรษ 2320 ถึง ทศวรรษ 2420)

บทที่ 2 พักผ่อนหย่อนใจ การเดินทางของเจ้านายและชนชั้นผู้มีเวลาว่าง (ทศวรรษ 2430 ถึง พุทธศักราช 2475)

บทที่ 3 รุ่งอรุณแห่งรัฐประชาชาติ การท่องเที่ยวกับชาตินิยมและท้องถิ่นนิยม (พุทธศักราช 2475 ถึง พุทธศักราช 2500)

บทที่ 4 รายได้จากสงคราม และการกลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (พุทธศักราช 2500 ถึง พุทธศักราช 2522)

บทที่ 5 เที่ยวสร้างไทย การขยายตัวของตลาดภายในและการหลั่งไหลจากต่างชาติ (พุทธศักราช 2522 ถึง พุทธศักราช 2549)

บทที่ 6 บทสรุป

========

2. เลาะตะเข็บอำนาจประวัติศาสตร์การศึกษาไทย
ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการศึกษาในสังคมไทย  จากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ  การรัฐประหาร  และระบบราชการ  ตั้งแต่  พ.ศ.2490-2562

  • การลงโทษนักเรียนเกินกว่าเหตุ
  • การเฆี่ยนตีที่ยังมีให้เห็น
  • ระเบียบสถาบันใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ
  • ระเบียบวินัยบนเรือนร่างที่เข้มงวด
  • การละเมิดสิทธิเสรีภาพนักเรียนที่กลายเป็นเรื่องปกติ
  • ระบบอุปถัมภ์ในโรงเรียน

เรื่องเจ็บๆ ในรั้วโรงเรียนเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร?

หนังสือเล่มนี้แสดงให้เห็นว่าพลังความเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้เกิดความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม มาจากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐที่มีฐานสำคัญมาจากการรัฐประหารที่มีบทบาทในสังคมการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมา ผลพวงดังกล่าวทำให้ระบบการศึกษาและกลไกสนับสนุนอยู่ภายใต้ความเปลี่ยนผ่านสู่ยุคต่างๆ

ความรุนแรงที่หนังสือเล่มนี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งคือ ผลพวงจากการรวมศูนย์อำนาจการจัดการศึกษาของไทย ที่สะท้อนจากโครงสร้างอำนาจนิยมทางการเมืองที่ตกอยู่ภายใต้การบริหารของรัฐบาลเผด็จการและระบบราชการมายาวนาน

ซึ่งบางเครือข่ายธำรงอำนาจทางการเมืองและจัดทรัพยากรอยู่ในมือได้ เช่น กลุ่มทุนผู้ใกล้ชิดกับรัฐ หรือเครือข่ายผู้ผลิตความรู้ กล่าวได้ว่า ไม่ว่าจะอยู่ในรัฐบาลแบบใด พวกเขาก็มีอำนาจต่อรองได้เสมอ และยิ่งทวีความสำคัญและมีอำนาจมากยิ่งขึ้นในช่วงรัฐประหารและการรวมศูนย์อำนาจอย่างเข้มข้น

ที่สำคัญการศึกษาเช่นนี้ควรเป็นการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ที่ทำให้เห็นช่วงเวลายาวนานที่มีการก่อร่าง สานต่อ กระทั่งปรับเปลี่ยนโครงสร้างและกระบวนการรวมศูนย์อำนาจทางการศึกษาในสังคมไทย...

== ทดลองอ่าน ==

1. ทำไมต้องใส่ชุดนักเรียน?
คลิก  https://www.sm-thaipublishing.com/content/12061/thai-school-uniform

2. รู้หรือไม่? ตีเด็กผิดกฎหมาย
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/12087/student-rights

3. รัฐประหาร อุปสรรคของการศึกษาไทย?!?
คลิก https://www.sm-thaipublishing.com/content/12089/thai-education-problems

-----------------------

ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ : เขียน
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการสำนักพิมพ์
สิทธิวัฒน์ เรืองพงศธร : บรรณาธิการเล่ม
DESIGN | ● สมมติ STUDIO ● | จิรวัฒน์ รอดอิ่ม

ฉบับพิมพ์ครั้งแรก กันยายน 2565
ความหนา : 352 หน้า
ราคาปก 380 บาท
ISBN 978-616-562-043-7


- สารบัญ -


บทที่ 1 บทนำ

บทที่ 2 การศึกษารวมศูนย์ของไทยหลังรัฐประหาร 2490 จนถึง รัฐประหาร 2500 (พ.ศ.2490-2500)

บทที่ 3 การศึกษารวมศูนย์ของไทยในห้วงสงครามเย็น (พ.ศ.2500-2525)

บทที่ 4 การศึกษาไทยยุคเศรษฐกิจฟองสบู่กับตลาดการศึกษาที่ขยายตัว (พ.ศ.2525-2540)

บทที่ 5 การศึกษาไทยกับฉันทามติหลังวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 (พ.ศ.2540-2549)

บทที่ 6 การศึกษาไทยหลังรัฐประหาร และฉันทามติที่ขาดการมีส่วนร่วม (พ.ศ.2549-2562)

บทที่ 7 บทสรุป

==========

- - แนะนำชุดหนังสืออื่นๆ - -

เก็บให้ครบ ชุดประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย

สั่งซื้อ https://www.sm-thaipublishing.com/product/29925/set-thai-history-concept

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้