On Surrealism - ว่าด้วยวรรณกรรมเซอร์เรียลิสม์
หมวดหมู่ : Selected Items , 
Share
หนังสือวรรณกรรมและสังคมสำหรับคนคอแข็ง
ชวนผู้อ่านไปนิพพานผ่านวรรณกรรม
นำพาผู้อ่านไปรู้จักกับคำว่า ‘เซอร์เรียลิสม์’ ทั้งในแง่มุมของงานวรรณกรรม ชีวิต ความฝัน ความบ้า และความไร้เหตุผล ผ่านข้อเขียน อาทิเช่น
อนุบาลเซอร์เรียลิสม์แห่งประเทศไทย รับมาจากไหน รับมาอย่างไร และจะรับไปไหน : บทวิเคราะห์อิทธิพลของเซอร์เรียลิสม์ในศิลปะและวรรณกรรมไทยยุคแรกเริ่ม
ประวัติศาสตร์เซอร์เรียลิสม์ควรเริ่มที่ไหน? : บทสืบค้นรอยทางความคิด ศิลปะ และการปฏิวัติวัฒนธรรม
เซอร์เรียลิสม์ จิตวิทยา และสุทรียะแห่งความโกลาหล : บทวิเคราะห์จิตวิทยา ศิลปะ และพัฒนาการทางวัฒนธรรม ถอดความบทสัมภาษณ์ อ็องเดร เบรอตง – เจ้าสำนักเซอร์เรียลิสม์ จาก Conversations : The Autobiography of Surrealism
พร้อมด้วยบทสัมภาษณ์ สดชื่น ชัยประสาธน์ เจ้าของผลงานวิจัยเรื่อง การตีความความเป็นจริงในกวีนิพนธ์และจิตรกรรมเซอร์เรียลิสต์ในฝรั่งเศส ค.ศ.1919-1969 และ จิตรกรรมและวรรณกรรมแนวเซอร์เรียลิสต์ในประเทศไทย พ.ศ.2507-2527
พบกับคอลัมน์ วรรณกรรมหลังห้องเรียน ที่นำเสนอคำบรรยายของ ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ เรื่อง ความคิดหลังสมัยใหม่และวรรณกรรม
เล่ม 14 ก่อนฮิปเตอร์จะโด่งดัง โปรดกลับไปอ่าน ‘เซอร์เรียลิสม์’ ทั้งในแง่มุมของงานวรรณกรรม ชีวิต ความฝัน ความบ้า และความไร้เหตุผล ไม่ควรพลาดด้วยประการทั้ง
ตีแผ่ความ ‘เซอร์’ ที่ไม่ใช่แค่การแต่งตัวรุ่มร่าม ไว้ผมเผ้ายาวรุงรัง วางมาดไม่แคร์โลก ทำตัวเป็นศิลปิน พะยี่ห้อวารสารหนังสือใต้ดินทั้งที เอามันให้ถึงราก เพราะเราจะพาไปร่วมสำรวจ ‘สปิริตแบบเซอร์เรียลิสม์’ ที่เป็นสำนักคิดแหกขนบ บูชาความไร้ระเบียบ ยกย่องจินตนาการกว่าเหตุผล ความฝันและจิตไร้สำนึกคือช่องทางของการบรรลุความจริงที่เที่ยงแท้บางอย่าง
- อนุบาลเซอร์เรียลิสม์แห่งประเทศไทย
- ประวัติศาสตร์เซอร์ฯควรเริ่มที่ไหน
- สนทนากับเจ้าสำนัก อ็องเดร เบรอตง
- ฌอร์จส์ บาตาย: เซอร์เรียลิสต์บนเส้นขนาน
- ความคิดหลังสมัยใหม่และวรรณกรรม ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์
- ปราบดา หยุ่น กับคอลัมน์ใหม่ แสงไฟในโลงศพ
-----------------------
“เซอร์เรียลิสม์ในฐานะที่เป็นกลุ่ม มีการเริ่มต้น การสิ้นสิ้นสุด แต่เซอร์เรียลิสม์ในฐานะที่เป็นแนวความคิดย่อมคงอยู่ชั่วนิรันด์”
สดชื่น ชัยประสาธน์, ประวัติศาสตร์เซอร์เรียลิสม์
-----------------------
“...คำว่า Postmodernism จึงหมายความได้ทั้ง “ภายหลังความคิดสมัยใหม่” และ “ภายในความคิดสมัยใหม่” แต่ถ้าลองดูที่ตัวความคิด เราก็เห็นว่าน่าจะเป็นแบบหลัง มากกว่าจะเป็นสมัยใหม่ที่จบลงไปแล้ว...”
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์, ความคิดหลังสมัยใหม่และวรรณกรรม
-----------------------
บรรณาธิการบริหาร – ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล ชัยพร อินทุวิศาลกุล
บรรณาธิการ – กิตติพล สรัคคานนท์
พิมพ์เมื่อ กันยายน 2551
ราคา 180 บาท
จำนวนหน้า 272
------------------------
สนใจสั่งซื้อยกชุดราคาพิเศษ คลิก
Set วารสารหนังสือใต้ดิน (Underground Buleteen)
บางเล่มใกล้หมดแล้ว รีบซื้อก่อนที่จะเป็นหนังสือหายาก