บทบรรยายของ มักซ์ เวเบอร์ ถึงโลกทางวิชาการ ว่าด้วยความเป็นนักวิชาการ ที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้งและส่งอิทธิพลทางความคิดไปยังใครต่อใครอีกมากมาย
หมวดหมู่ : งานวิชาการ ,  SALE Online Bookfair ,  150 THB , 
Share
หากห้องเรียนถูกใช้เป็นเวทีสำหรับการป่าวประกาศจุดยืนทางการเมืองของอาจารย์ผู้สอน (หรือจะเรียกว่านักวิชาการ) สิ่งนี้ย่อมไม่ใช่ 'ภาระหน้าที่' ของเหล่านักวิชาการ และไม่อาจเรียกว่า 'อาชีพ' เลยแม้แต่น้อย
มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) กล่าวไว้กว้างๆ ดังนี้ และมีอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจอีกทั้งท้าทายความคิด
ไม่ว่าจะเรียกว่า มักซ์ เวเบอร์ ว่าคือนักปรัชญา นักสังคมวิทยา นักวิชาการ อาจารย์สอนหนังสือ หรืออะไรอื่นก็ตาม นั่นไม่สำคัญเท่ากับสิ่งที่เขาคิด พูด และเขียน
นี่คือเลคเชอร์หรือบทบรรยายให้นักศึกษาเสรีนิยมฝ่ายซ้ายในเยอรมนี ที่ว่ากันว่าเป็นบทบรรยายที่ถูกพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง และส่งอิทธิพลทางความคิดไปยังใครต่อใครอีกมากมาย!
'Scholarship as a Vocation' หรือ 'วิชาการในฐานะอาชีพ' บทบรรยายของ มักซ์ เวเบอร์ ถึงโลกทางวิชาการ ว่าด้วยความเป็นนักวิชาการ อาจารย์ คนสอนหนังสือ หรือผู้อุทิศตัวต่อองค์ความรู้ พร้อมด้วย
บทนำ: เสียงกู่เรียกของนักวิชาการกับความเงียบงันของศาสตร์ในโลกสมัยใหม่: โดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ
และ บทอธิบายเพิ่มเติม: ข้อสังเกตบางประการต่อแนวคิด value-freedom โดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ
- - - -
[...] เราต้องกล่าวต่อประกาศกและนักปลุกระดมว่า 'ออกไปบนถนน และพูดกับสาธารณะ' หรือถ้ากล่าวในอีกแบบก็คือ ไปพูดในที่ที่ สิ่งที่คุณพูดนั้นสามารถถูกวิจารณ์ได้ ในห้องบรรยายที่คุณนั่ง อยู่ฝั่งตรงข้ามกับผู้ฟัง มันเป็นหน้าของผู้ฟังที่ต้องเงียบและของ อาจารย์ที่ต้องพูด [...]
- - - -
วิชาการในฐานะอาชีพ (Scholarship as a Vocation)
มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) : เขียน
อธิป จิตตฤกษ์ : แปล
พิพัฒน์ พสุธารชาติ : บรรณาธิการและบทนำ
ความหนา : 168 หน้า
ISBN 978-616-7196-70-1
┈ ┉ ┈
ผลงานเล่มอื่นของ Max Weber
คลิก การยึดมั่นในอาชีพการเมือง (Politics as a Vocation)