หนังสือรวม 10 บทความ ที่จะนำพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจในสัมพันธภาพระหว่าง 'การเมือง' กับ 'ประวัติศาสตร์' โดยมองผ่าน 'แว่นวรรณกรรม'
หมวดหมู่ : งานวิชาการ ,  250 THB , 
Share
"...อำนาจของ 'หนังสือ' และ 'วรรณกรรม' ไม่อาจสูญสลายไปได้ ตราบเท่าที่เรายังมี 'เสรีชน' ผู้แสวงหาอยู่..."
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
┈ ┉ ┈
มิติการเมืองในหนังสือเล่มนี้อาจเรียกได้ว่าเป็น "การเมืองของการประท้วง ต่อต้าน กระทั่งปฏิวัติ" นั่นคือการเมืองของคนนอกคอก คนที่โดยปกติวิสัยแล้ว ไม่มีทางที่จะก้าวไปสู่อำนาจรัฐ เพราะไม่ยอมรับและปฏิเสธแบบแผนประเพณีและจารีตดั้งเดิมของรัฐและอำนาจรัฐนั้นๆ
ที่น่าสนใจคือ ตัวละครหรือผู้แสดงหลักในประวัติศาสตร์เหล่านั้น ต่างใช้และอาศัยวรรณกรรมหรือหนังสือ เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างสำนึกทางการเมืองที่ก้าวหน้าให้แก่ตนเองและขบวนการ
วรรณกรรมการเมือง มักปรากฏขึ้นมาในช่วงเวลาที่เป็นวิกฤติของรัฐ วรรณกรรมไม่ได้สร้างความขัดแย้งทางการเมือง หากแต่มันเป็นกระจกและแว่นของสังคมในเวลานั้น ที่ช่วยสะท้อนให้คนรุ่นต่อมาสามารถมองเห็นความขัดแย้งทางการเมืองต่างๆ ได้อย่างกระจ่าง และอาจชัดเจนกว่าคนที่อยู่ในเหตุการณ์เสียอีก
┈ ┉ ┈
กบฏวรรณกรรม: บทวิเคราะห์ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : เขียน
ปิยะวิทย์ เทพอำนวยสกุล : บรรณาธิการ
ปฐมพงศ์ น้ำใจดี : ออกแบบปก
ความหนา : 360 หน้า
ISBN: 978-616-7196-21-3
┈ ┉ ┈
'กบฏวรรณกรรม' ผลงานเดียวกับผู้เขียน 'แปดทศวรรษสยามปฏิวัติ'
ประกอบด้วย 10 บทความเข้มข้น ต่างภูมิภาค ต่างบริบท แต่มีจุดร่วมเดียวกัน
1. ประวัติศาสตร์และการเมืองในวรรณกรรม
2. วรรณกรรมกับการเคลื่อนไหวของขบวนการนิสิตนักศึกษา
3. วรรณกรรมกับการเคลื่อนไหวทางการเมือง
4. วรรณกรรมกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติจีน: หลู่ซิ่น
5. วรรณกรรมกับการเคลื่อนไหวปฏิวัติจีน: เหมา เจ๋อตุง
6. ก่อนอรุณจะรุ่ง: วรรณกรรมในชีวิตรัสเซีย
7. ตอลสตอยกับการคลี่คลายของประวัติศาสตร์รัสเซีย
8. คำสารภาพ
9. 'มนุษย์ล่องหน': วรรณกรรมคนแอฟริกัน - อเมริกัน กับการเมือง
10. โซรา นีล เฮอร์สตัน: นักเขียนสตรีผิวดำผู้ถูกลืม