Last updated: 11 ส.ค. 2567 | 2239 จำนวนผู้เข้าชม |
ระบบกฎหมายและสถาบันตุลาการในนิติรัฐอภิสิทธิ์ ตอนที่ 4
- บทสรุป -
ความไม่เสมอภาคจะยังคงดำรงอยู่ในสังคม และคุกยังจะมีไว้ขังคนจนและผู้เป็นปฏิปักษ์กับผู้มีอำนาจต่อไปตราบเท่าที่ประเทศไทยยังอยู่ภายใต้ของระบบการปกครองโดยกฎหมายหรือนิติอธรรม ระบบกฎหมายไทยที่ยังเต็มไปด้วยอิทธิพลของจารีตแบบไทยซึ่งเกิดจากการผสานธรรมะของศาสนาพุทธเข้ากับความศักดิ์สิทธิ์ของสถาบันพระมหากษัตริย์ ด้านสถาบันตุลาการผู้บังคบใช้กฎหมายที่ควรทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่กลับเลือกยืนอยู่ข้างผู้มีอำนาจ หลายสิ่งหลายอย่างของไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือกระทั่งปัจจุบันอาจดูเป็นสมัยใหม่ แต่โดยเนื้อแท้แล้วยังคงเป็นจารีตแบบไทย และหนึ่งในนั้นคือระบบยุติธรรมตามหลักราชนิติธรรมที่ค้ำจุนรัฐอภิสิทธิ์ชน
สถาบันตุลาการของได้สร้างอัตลักษณ์ร่วมขึ้นมาสี่ประการตั้งแต่ช่วง พ.ศ. 2500 คือความเป็นคนดี ผู้ดี ผู้รู้ และผู้จงรักภักดี จนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรสืบมาจนถึงปัจจุบัน ความจงรักภักดีเป็นอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากที่สุดจนถึงขนาดแสดงออกอย่างโจ่งแจ้งผ่านตราสัญลักษณ์ของสำนักงานศาลยุติธรรม บทบาทของสถาบันตุลาการที่ผ่านมาแสดงออกอย่างชัดเจนว่ายินยอมคล้อยตามผู้มีอำนาจในขณะนั้น เห็นได้อย่างชัดเจนจากการยอมรับให้คณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ทุกครั้งที่เกิดการรัฐประหารและมีพระราชโองการของพระมหากษัตริย์รับรองฐานะของคณะรัฐประหาร
หลังจากการรัฐประหาร พ.ศ. 2549 ได้เกิดปรากฏการณ์ตุลาการภิวัตน์ ซึ่งหมายถึง อำนาจของสถาบันตุลาการขยายออกไปจนสู่พื้นที่ทางการเมือง ประเด็นทางการเมืองเข้าไปอยู่ในการตัดสินของฝ่ายตุลาการ สถาบันตุลาการในฐานะผู้รักษารัฐธรรมนูญเลือกที่จะปกป้องเสียงข้างน้อย แต่ในที่นี้หาใช้ประชาเสียงข้างน้อยที่ไร้อำนาจ แต่หมายถึงเสียงข้างน้อยผู้มีอำนาจเต็มเปี่ยม และควบคุมเสียงข้างมากของฝ่ายประชาธิปไตยด้วยการตีความกฎหมายขยายออกไปอย่างกว้างขวาง ก่อให้เกิดวิกฤตศรัทธาในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
ระบบแห่งความอยุติธรรมเช่นนี้จะยังดำรงได้ตลอดไปหรือไม่ ขอให้ย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นที่การปฏิวัติ 2475 อีกครั้ง ฝ่ายกษัตริย์นิยมมักดูแคลนการปฏิวัติ 2475 ของคณะราษฎรว่าเป็น 'การชิงสุกก่อนห่าม' ประชาชนยังขาดการศึกษาและขาดความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยอย่างเพียงพอ ประชาธิปไตยไทยเติบโตอย่างเชื่องช้าและล้มลุกคุกคลานมาเกือบ 90 ปีแล้ว มาบัดนี้ประชาชนเข้าใจแล้วว่า 'การชิงสุกก่อนห่าม' เป็นเพียงข้ออ้างของผู้มีอำนาจที่ใช้กฎหมายและกระบอกปืนกดขี่พวกเขาเท่านั้น ประชาชนผ่านการเรียนรู้มากพอ จนสามารถลอกคราบและชำแหละที่มาของอำนาจอภิสิทธิ์ในสังคมได้จนหมดเปลือกแล้ว คนรุ่นใหม่ที่เติบโตขึ้นมาในปริมณฑลสาธารณะซึ่งเปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว จึงไม่อาจทนต่อความไม่เสมอภาค ความอยุติธรรมที่ปรากฎให้เห็นทุกเมื่อเชื่อวันโดยเหล่าผู้มีอำนาจที่พร่ำเพ้อถึงหลักศีลธรรมและความจงรักภักดีได้อีกต่อไป ประวัติศาสตร์แห่งการกดขี่และอำนาจของฝ่ายจารีตจะยังสามารถควบคุมสังคมไทยได้อีกนานเพียงใด ประชาชนที่กำลังตื่นรู้มากขึ้นเรื่อยๆ จะเป็นผู้ให้คำตอบ ดังคำกล่าวที่ว่า “เรามิได้เป็นผู้สร้างประวัติศาสตร์ แต่ประวัติศาสตร์ต่างหากที่สร้างเราขึ้นมา”
* * * * *
เอกสารอ้างอิง
กฤษณ์พชร โสภณวัตร (2557) “อำนาจแห่งอัตลักษณ์ตุลาการ.” ,วารสารนิติสังคมศาสตร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 : มกราคม-มิถุนายน 2557. เชียงใหม่: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กฤษณ์พชร โสภณวัตร (2559) “การประกอบสร้างอัตลักษณ์ตุลาการไทย.” ประชาไทย, 2 พฤษภาคม 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 , www.prachatai.com/journal/2016/04/65447
ธงชัย วินิจจะกูล (2563) นิติรัฐอภิสิทธิ์และราชนิติธรรม. กรุงเทพฯ: เวย์แม๊กกาซีน
ปรีดี เกษมทรัพย์ (2553) นิติปรัชญา. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ปิยบุตร แสงกนกกุล (2559) “ตุลาการภิวัตน์วิธี.” ประชาไทย,2 พฤษภาคม 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 , www.prachatai.com/journal/2016/05/65569
โยชิฟูมิ ทามาดะ (2559) “ประชาธิปไตยไทยกับตุลาการภิวัตน์.” ประชาไทย, 2 พฤษภาคม 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 , www.prachatai.com/journal/2016/04/65384
สมชาย ปรีชาศิลปกุล (2559) “กำเนิดและความพลิกผันของการเมืองเชิงตุลาการ.” ประชาไทย, 2 พฤษภาคม 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 , www.prachatai.com/journal/2016/04/65432
สายชล สัตยานุรักษ์ (2559) “มรดกประวัติศาสตร์ จุดกำเนิดตุลาการภิวัตน์ประชาไทย.”ประชาไทย, 2 พฤษภาคม 2559, สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 , www.prachatai.org/journal/2016/04/65406
อ่านตอนอื่นๆ ของบทความเดียวกัน
ระบบกฎหมายและสถาบันตุลาการในนิติรัฐอภิสิทธิ์ ตอนที่ 1
ระบบกฎหมายและสถาบันตุลาการในนิติรัฐอภิสิทธิ์ ตอนที่ 2
ระบบกฎหมายและสถาบันตุลาการในนิติรัฐอภิสิทธิ์ ตอนที่ 3
สำหรับนักอ่านที่สนใจงานวิชาการทั้งด้านการเมือง รัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา
ขอแนะนำชุดหนังสือที่น่าสนใจ
// Set มายาคติในการเมืองไทย //
// Set ถอดมายาคติการเมือง //
// Set นักคิดทางการเมืองคนสำคัญ //
// Set รื้อ-สร้าง และท้าทายทางความคิด //
// Set เล่มหนาตาสว่าง //
// Set การเมือง ปรัชญา และศิลปะฝรั่งเศส //
// Set วรรณกรรมวิจารณ์ ราคาสุดพิเศษ + กระเป๋าผ้า //
// Set 3 เล่ม ไชยันต์ รัชชกูล //
==============================
บทความที่คุณน่าจะชอบ
/ คณะราษฎร 2475 | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ รัฐประหารไทย | รวม 10 บทความสุดเข้ม /
/ สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ ปรัชญาตะวันออก | โหลดฟรี 13 บทความ /
/ ราชาชาตินิยม | โหลดฟรี 10 บทความ /
/ 20 หนังสือ อ่านเบิกเนตร /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อุตสาหกรรมแห่งความจงรักภักดี /
/ สัญลักษณ์คณะราษฎรที่หายไป...เราจะจดจำไว้ /
/ ธงชัย วินิจจะกูล | อำนาจของสาธารณชน จากบทกล่าวตามในหนังสือ 1984 /
/ 10 หนังสือสำหรับคน 'อยู่ไม่เป็น' /
==================
17 ก.ค. 2563
22 ธ.ค. 2567
17 มิ.ย. 2563