Last updated: 3 เม.ย 2567 | 5057 จำนวนผู้เข้าชม |
โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) Polish-British Author
ผู้เขียน หฤทัยแห่งอันธการ (Heart of Darkness)
┈ ┉ ┈
One of the Greatest English Novelists
-- Encyclopædia Britannica --
หนึ่งในนักเขียนอังกฤษที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่ง
┈ ┉ ┈
สำหรับคอนราด นวนิยายไม่ได้เป็นเพียง 'เรื่องแต่ง' ที่นำประสบการณ์มาประกอบสร้างอย่างดาดๆ หากแต่ยัง 'หลอมรวม' เอาชีวิตส่วนตัวของผู้ประพันธ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงไว้ด้วย
นวนิยายจึงทำหน้าที่นำพาผู้อ่านไปสู่การรับรู้อดีตอันขมขื่น รู้สึกถึงความเจ็บปวดในจิตใจผู้อื่นจากรอยแผลแห่งวันวาน ...ซึ่งบางครั้งแม้แต่เราเองก็ไม่รู้ตัวว่าได้ฝากมันไว้แก่ใครบ้าง
จากภาวะเช่นนั้นคงทำให้ผู้อ่านเข้าใจ 'ความเป็นมนุษย์' บางประการที่ทุกคนล้วนมีเหมือนกันไม่มากก็น้อย ต่อกรณีดังกล่าว...คงไม่มีนวนิยายเรื่องใดที่เหมาะสมไปกว่า 'Heart of Darkness' หรือ 'หฤทัยแห่งอันธการ' ในฉบับภาษาไทย นวนิยายอันเลื่องชื่อที่สุดของ โจเซฟ คอนราด
┈ ┉ ┈
นอกจาก Heart of Darkness หรือ หฤทัยแห่งอันธการ จะติดอันดับหนังสือยอดเยี่ยมจากสื่อหลายสำนัก
100 Novels Everyone Should Read -- The Telegraph
The 100 Best Novels written in English -- The Guardian
100 Greatest British Novels -- BBC
100 Best Novels -- Modern Library
┈ ┉ ┈
โจเซฟ คอนราด (Joseph Conrad) ยังมีอิทธิพลต่อนักเขียนวรรณกรรมอีกมากมาย เช่น
✅ เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway)
✅ ที.เอส. เอลเลียต (T.S. Eliot)
✅ กาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ (Gabriel García Márquez)
✅ วิลเลียม โกลดิง (William Golding)
✅ อัลแบร์ กามูร์ (Albert Camus)
✅ หรือ จอร์จ ออร์เวลล์ (George Orwell) ผู้เขียน หนึ่ง-เก้า-แปด-สี่ (1984)
ผู้คนยังยกย่องคอนราดว่าเป็น 'นักประพันธ์ผู้บุกเบิกวรรณกรรมสมัยใหม่' และแน่นอน...ผลงานซึ่งเป็นที่กล่าวขวัญมากที่สุดก็คือ Heart of Darkness -- วรรณกรรมระดับขึ้นหิ้งที่ยังได้รับการอ่านและตีความทุกยุคทุกสมัย
'หฤทัยแห่งอันธการ' เป็นนิยายที่บันทึกการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ในยุคล่าอาณานิคมที่เข้มข้นและทรงพลัง
และจะนำพาผู้อ่านไปสู่การรับรู้อดีตอันขมขื่น – รู้สึกถึงความเจ็บปวดในจิตใจผู้อื่นจากรอยแผลแห่งวันวาน ...ซึ่งบางครั้งแม้แต่เราเองก็ไม่รู้ตัวว่าได้ฝากมันไว้แก่ใครบ้าง!
┈ ┉ ┈
คลิกสั่งซื้อ หฤทัยแห่งอันธการ (Heart of Darkness)
16 ก.ย. 2565
25 ก.ย. 2565
26 ก.ย. 2565
26 ส.ค. 2565