ความน่าจะอ่าน 2018 - 2022 | แนะนำ 13 เล่ม สนพ.สมมติ

Last updated: 26 ก.ย. 2565  |  2392 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ความน่าจะอ่าน 2018 - 2022 | แนะนำ 13 เล่ม สนพ.สมมติ

รวมลิสต์หนังสือของสนพ.สมมติ ทั้งหมด 13 เล่ม

จาก ความน่าจะอ่าน ตั้งแต่ปี 2018 - 2022 โดย The101.world

 

***ความน่าจะอ่าน Finalists 2022***

1. ประเทศไร้ทรงจำ

โดย กว่าชื่น บางคมบาง / สำนักพิมพ์คมบาง

"บทกวีที่สะท้อนภาพของชีวิตและการเมืองในประเทศ"

 ===

2. ซาฮาโตโพล์ค (Zahatopolk)

โดย อำนาจ รัตนมณี / ร้านหนังสือเดินทาง

"นิยายสั้นๆเขียนโดย เบอร์ทรันทด์ รัสเซลล์ เล่าถึงสังคมหนึ่งในละตินอเมริกาและความกล้าที่จะบอกกล่าวถึงสิ่งที่เหมาะสม อ่านแล้วความเศร้าเกิดขึ้นปะปนกับความหวัง แต่อยากจะมองมันในเชิงความหวัง ยากที่จะตอบว่าการคิดต่างเป็นสิ่งคุ้มค่าที่จะทำหรือไม่ หากแต่หนังสือเล่มนี้ยืนยันว่าการคิดต่างนั้นจำเป็นต้องมี"

 ===

3. 2444

โดย อธิคม คุณาวุฒิ / สำนักพิมพ์ Way

"รวมเรื่องสั้น 8 ชิ้น 6 ชิ้นเคยตีพิมพ์ต่างกรรมต่างวาระ มี 2 เรื่องใหม่ตีพิมพ์ครั้งแรกปิดหัวปิดท้ายเล่ม คุมเนื้อหาและบรรยากาศโศกสลดหม่นหมองของผู้ถูกเข่นฆ่า ถูกกระทำ ถูกกดขี่ข่มเหงยาวนาน นับตั้งแต่ยุคกบฎผีบุญเมื่อวันที่ 4 เดือน 4 ปี 2444 ที่ลานสังหารหมู่บ้านสะพือ อุบลราชธานี คน 200-300 ชีวิตถูกฆ่า ตัดหัวเสียบประจาน สังเวยการสร้างรัฐชาติ ความทรงจำยุคสงครามเวียดนาม บ้านเกิดกลายเป็นฐานทัพให้ทหารอเมริกันขับเครื่องบินไปทิ้งระเบิดใส่ประเทศเพื่อนบ้าน ผู้หญิงท้องถิ่นปรับตัวเป็นโสเภณีเพื่อเอาชีวิตรอด และความทรงจำบาดแผลจากการสังหารหมู่วันที่ 6 ตุลาคม 2519 โทนเรื่องทั้งเล่มเหมือนนั่งฟังหมอลำเฒ่าเล่าเรื่องร้องทุกข์ น้ำเสียงแหบโหย แต่เปิดเผยความคับแค้น และไม่ได้บอกว่าจะยอมจำนน"

 ===

4. การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 ถึงพุทธศักราช 2475

โดย นักรบ มูลมานัส / นักออกแบบปก

"อ่านเล่มนี้ครั้งแรกตอนเรียนมหาวิทยาลัยในวิชาประวัติศาตร์สังคมไทย เป็นเล่มที่เปิดโลกและทำให้เรามองประวัติศาสตร์ไทยเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง เพราะแทนที่จะเล่าเรื่องเหตุการณ์ต่างๆ ในอดีต หนังสือเล่มนี้กลับอธิบายให้เห็นภูมิปัญญาความคิดที่รายล้อมและค่อยๆ บ่มเพาะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในสังคมไทย ดีใจที่สำนักพิมพ์สมมติเอากลับมาพิมพ์ใหม่ เพราะฉบับพิมพ์ครั้งที่แล้วๆ มาหายากแล้ว เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการทำความเข้าใจอดีตที่จะทาบทับกับความเข้าใจสังคมไทยปัจจุบันด้วย"

===============

***ความน่าจะอ่าน Finalists 2021***



1. วาระสมมติหมายเลข 02 ‘ว่าด้วย The King and I’

โดย ปฏิกาล ภาคกาย, ธีรภัทร์ เจนใจ, นภษร ศรีวิลาศ / คณะบรรณาธิการสำนักพิมพ์แซลมอน

"บทบันทึกความสัมพันธ์ระหว่างนักเขียนทั้ง 13 ท่านกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่การระลึกถึงความสัมพันธ์ที่ไม่เคยตั้งคำถามในวัยเด็ก ความในใจของผู้คนที่อัดอั้นกับความรักที่ไม่อาจกล้ำกลืน รวมถึงบันทึกประวัติศาสตร์ที่บางเรื่องก็ไม่เคยถูกเล่า ประทับใจกับการนำเสนอความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมาในระดับชิดเพดาน เชื่อว่าผู้ที่ได้อ่านจะกลับมาตั้งคำถามกับตัวเองถึงความสัมพันธ์นี้ ไปจนถึงเกิดความกล้าที่จะซื่อตรงกับความรู้สึกของตัวเอง"
===



2. ความเป็นมาของความคิดทางการเมืองในสยามไทย ชุด ประวัติศาสตร์ความคิดในรัฐไทย

โดย สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) / สำนักพิมพ์ KOOB

"เปิดหูเปิดตาด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่เคยเรียนในห้องเรียน แต่อาจารย์ธเนศเล่าใหม่ให้เห็นรายละเอียดที่แตกต่าง ฉายภาพความคิดทางการเมืองไทยอย่างสนุกสนาน จนอยากเชียร์ให้ใช้เป็นแบบเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยม ประวัติศาสตร์จะสนุกขึ้นมากและกระตุ้นต่อมวิเคราะห์วิพากษ์มากมาย

"อย่างบทที่พูดถึงเซอร์ จอห์น เบาว์ริง ทำให้เห็นการเชื่อมโยงกับสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมืองของโลกในยุคนั้น ตั้งแต่สงครามฝิ่นมาจนถึงการที่สยามเปิดประเทศ จอห์น เบาว์ริงไม่ได้รับบท ‘ผู้ร้าย’ ตื้นๆ ที่มาพร้อมการล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกแล้วร่างสนธิสัญญาให้สยามเสียเปรียบเท่านั้น แต่มีการต่อสู้ต่อรองความคิดหลายอย่างระหว่างเก่ากับใหม่ เขาเป็นคนที่เชื่อมั่นในลัทธิเสรีนิยมอย่างมาก คิดว่าสังคมต้องมีเสรีภาพและรัฐธรรมนูญ เพราะศัตรูของเสรีภาพคืออำนาจรวมศูนย์ แถมยังเชื่อเรื่องการกระจายทรัพย์สินทั่วไปด้วย นอกจากนั้นยังเชื่ออีกว่าการค้าเป็นต้นกำเนิดของอารยธรรมและความก้าวหน้า ฉะนั้นเมื่อมาเจอธรรมเนียมตะวันออกแบบ ‘ค่าน้ำร้อนน้ำชา’ ก็เห็นว่าเป็นการตอกย้ำความสัมพันธ์แบบศักดินาที่เน้นการพึ่งพาและความไม่เท่าเทียมของคนในสังคม ระบบภาษีของสยามกีดขวางการสร้างแรงจูงใจให้แรงงานอยากผลิตหรือสร้างงานให้มากขึ้นดีขึ้น

"วิธีคิดของเขาสอดคล้องกับพัฒนาการของทุนอุตสาหกรรมในอังกฤษที่กำลังต่อสู้กับชนชั้นเจ้าที่ดิน แม้ว่าสยามจะยอมรับหลักการในการปฏิรูประบบเศรษฐกิจแบบที่เบาว์ริ่งเสนอ แต่ความคิดเรื่องคนย่อมไม่เท่าเทียมกัน รวมถึงธรรมเนียม ‘ค่าน้ำร้อนน้ำชา’ และระบบอุปถัมภ์ก็ยังคงอยู่มาอีกยาวนาน อ่านเล่มนี้ทำให้เห็นรายละเอียดที่น่าสนใจของตัวละครสำคัญๆ รวมถึงเห็นความเชื่อมโยงกับความเป็นมาของความคิดทางการเมืองของบ้านเมืองเรา"
==================

***ความน่าจะอ่าน Finalists 2020***



1. ในปีที่ยี่สิบเจ็ด และเรื่องสั้นอื่นๆ

โดย วาด รวี / สำนักพิมพ์ Shine

"รวมเรื่องสั้นกระแสสำนึก สำเนียงสดใหม่ ไม่มีต้น ไม่มีปลาย บางเรื่องไม่มีชื่อ เป็นความกังขา ภาพอดีต ความเปล่าเปลี่ยว สัตว์ประหลาด รักที่ไขว้สลับ การชำแหละจิตสำนึก เคว้ง เลือนและหลากหลั่งไหลเทท่วมท้น หลงอยู่ในความสูญหาย 9 เรื่องสั้นขนาดไม่ยาว ให้รสชาติแปลกใหม่ แสดงความอึดอัดคับข้อง ล่องลอยและเคลือบคลุม ดื่มด่ำความบอบช้ำ สะท้อนทัศนียภาพภายในได้อย่างมีสไตล์และมิติที่น่าสนใจ"
===



2. ว่าด้วยเอกเทวนิยม: เส้นทางของพระผู้เป็นเจ้าของจริง

โดย สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) / สำนักพิมพ์ KOOB (2020)

"เป็นหนังสือที่อ่านแล้วเปลี่ยนวิธีมองโลก เหมือนเพิ่มแว่นตาใหม่ๆ ให้ตัวเอง"
===

โดย กิตติพล สรัคคานนท์ / สำนักพิมพ์พันหนึ่งราตรี (2020)

"ผมคิดว่าน่าจะเป็นหนึ่งในหนังสือสำคัญที่บอกว่าทำไมธเนศถึงเน้นย้ำเสมอถึงอิทธิพลของศาสนาที่นับถือพระเจ้าองค์เดียวต่อการระบบคิดทางการเมือง ในเล่มนี้ธเนศพาเราย้อนกลับไปสู่ศาสนาโบราณซึ่งถูกกำจัดและถูกนิยามใหม่โดยศาสนาแบบเอกเทวนิยม"
===

โดย พิพัฒน์ พสุธารชาติ / สำนักพิมพ์ Illuminations Editions (2020)

"อารยธรรมตะวันตกตั้งอยู่บนเสาหลักสองต้นคือ ปรัชญากรีกและคริสต์ศาสนา เราไม่สามารถเข้าใจ Rationality ของชาวตะวันตกในปัจจุบัน โดยขาดความเข้าใจต่อเสาหลักทั้งสอง (อาจต้องเพิ่ม ระบบกฎหมายของอาณาจักรโรมัน เข้าไปด้วย) แนวคิดรัฐประชาชาติ ก็ต้องอาศัยความเข้าใจต่อแนวคิดทางเทววิทยาของคริสต์ศาสนา หนังสือของธเนศเล่มนี้ เป็นหนังสือที่บอกเราอ้อมๆ ว่า เราไม่มีทางเข้าใจอารยธรรมตะวันตกได้ ถ้าปราศจากความเข้าใจต่อมโนทัศน์ที่สำคัญต่างๆ ทางคริสต์ศาสนา อย่างเช่น พันธสัญญา (Covenant) การรอด (Salvation) ฯลฯ หนังสือเล่มนี้อ่านค่อนข้างยาก แต่ถ้าเราติดตามงานของอาจารย์ธเนศมาก่อน ก็จะรู้ว่าเล่มนี้เป็นงานเขียนที่สำคัญอีกหนึ่งเล่มของเขา"
==================

***ความน่าจะอ่าน Finalists 2018-2019***



1. ศตวรรษแห่งความพ่ายแพ้

โดย The Paperless / นิรัตศัย บุญจันทร์ และ ภัทรานิษฐ์ พัฒน์ธนพร
สองผู้อยู่เบื้องหลังคอนเทนต์ของ The Paperless เว็บไซต์ที่นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับแวดวงวรรณกรรมอย่างถึงแก่น (2018-2019)

"พูดถึงการต่อสู้ดิ้นรนในสังคมปัจจุบัน ไม้ว่าจะด้านชีวิตทั่วไปหรือในเชิงภาพใหญ่ระดับประเทศ มีเสียงของความเลือดร้อนแต่ก็แสดงจิตใจที่ไม่ยอมแพ้ต่อความไม่เป็นใจหลายๆ อย่าง ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับสถานการณ์ในตอนนี้"
===



2. ดินเเดนคนตาบอด (The Country of the Blind)

โดย Whale & Rabbit Library / ชวณัฐ สุวรรณ และ เพชรลัดดา แก้วจีน
สองกราฟิกดีไซเนอร์รุ่นใหม่ที่มารวมตัวกันในนามของเจ้าวาฬกับเจ้ากระต่าย (2018-2019)

"บ่อยครั้งหนังสือบางเล่มเหมือนมาก่อนกาลเวลาเสมอ ดินเเดนคนตาบอด ของ H.G. Wells  เรื่องราวของนูเนซ นักปีนเขาที่หลงเข้าไปในหุบเขาที่ปิดตาย เเละที่เเห่งนั้นเรียกว่า ดินเเดนคนตาบอด มีเพียงคนตาบอดที่อาศัยอยู่ในหุบเขาเเห่งนี้ ตัดขาดจากโลกภายนอก เชื่อเเละศรัทธาต่อเบื้องบน จนนูเนซได้เข้ามาในที่เเห่งนี้ ซึ่งเขาคิดว่าเขาจะเปลี่ยนเเปลงดินเเดนคนตาบอดได้ เเละคิดเสมอว่า ‘ในดินเเดนคนตาบอด คนตาเดียวคือพระราชา’ เเต่ไม่ว่าเขาจะพยายามเท่าไร เขาก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนเเปลงสิ่งต่างๆ ในดินเเดนนี้ได้ มันพิสูจน์ได้ว่าคนตาดีไม่ได้มีอำนาจเเละความสามารถเหนือไปกว่าคนตาบอดได้เลย เพราะพวกเขาเหล่านั้นต่างมืดบอดในความคิด ศรัทธากับสิ่งที่อาจจะไม่มีอยู่จริง เเละนูเนซไม่สามารถทลายกำเเพงศรัทธาเหล่านั้นได้

"H.G. Wells เขียนตอนจบไว้สองเเบบ ตอนจบทั้งสองแบบเป็นการตีความที่ต่างกัน เหมือนเป็นตัวเลือกให้กับคนอ่านว่าเราอยากจะเป็นคนเเบบไหน ตาบอดหรือตาดี เเละเปิดพื้นที่ให้เราได้ตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่ ศรัทธาความเชื่อต่างๆ ที่เรายึดถือไว้นั้น มันนำเราไปสู่สิ่งที่ดีกว่าหรือครอบงำเราไว้ให้มืดบอดเดินไปข้างหน้าไม่ได้หรือไม่ เป็นหนังสือที่อยากเเนะนำให้อ่านมากๆ นิยายเเนวดิสโทเปีย ที่สะท้อนประเด็นทางสังคม การเมือง ชนชั้นได้อย่างคมคาย"
===



3. กวีพูด รวม 10 เรื่องสั้นของฟ้า

โดย ณัฐกานต์ อมาตยกุล และ ธนาคาร จันทิมา / ผู้ก่อตั้งสำนักพิมพ์ Chaichai Books (2018-2019)

"เสน่ห์ในงานเขียนของฟ้า พูลวรลักษณ์ ไม่ใช่สำนวนโวหาร และการพรรณนา แต่เป็นช่องว่าง และอากาศที่บรรจุอยู่ภายในเรื่องราวเหล่านั้น โครงเรื่องคาดเดายาก มีตั้งแต่เรื่องราวคนธรรมดาไปจนถึงมหาเศรษฐี ฉากชนบทจนถึงสงครามอวกาศ จุดร่วมของเรื่องสั้นคือการจำลองเอาตรรกะมาวางบนสมการของเรื่องเล่า บางครั้งการอ่านงานของฟ้าก็ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังทบทวนทฤษฎีบททางคณิตศาสตร์ เหตุนี้คนที่ไม่รักก็อาจจะเกลียดไปเลย"
===



4. ศูนย์

โดย วรพจน์ พันธุ์พงศ์ / นักเขียน และเจ้าของสำนักพิมพ์บางลำพู (2018-2019)
===



5. On Literature : ว่าด้วยวรรณกรรม

โดย สุรเดช โชติอุดมพันธ์ / รองคณบดีและอาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ (2018-2019)

"เป็นหนังสือรวมบทความที่แสดงให้เห็นถึงความคิดความอ่านของคนรุ่นใหม่และมุมมองใหม่ๆ ที่มีต่อวรรณกรรมคลาสสิก และวรรณกรรมที่เรารู้จักกันดี ตั้งแต่งานเขียนของชาร์ลส์ ดิกเกนส์ เทนเนสซี วิลเลียมส์ ไปจนถึงนักเขียนไทยร่วมสมัย อาทิ วีรพร นิติประภา อุทิศ เหมะมูล และวิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา บทความเหล่านี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการรวมตัวกันของคนรุ่นใหม่แล้ว ยังเห็นถึงบทบาทของสำนักพิมพ์ที่ควรจะสนับสนุนให้คนรุ่นใหม่ได้มีที่ทางในการนำเสนอความคิดเห็นในวงกว้าง"
==========

พบกับหนังสือทุกเล่มเหล่านี้ได้ที่ • สมมติ Book Café •

เปิดพฤหัสฯ - จันทร์ 10.00 - 20.00 | ใกล้ Paseo / สมาคมชาวปักษ์ใต้ ถ.กาญจนาภิเษก

Google Maps
https://goo.gl/maps/NapQ2mpku3Nv9s8i9 


ด้วยความเชื่อพื้นฐานของพวกเรา ว่าการอ่านและหนังสือ เป็นเรื่องเดียวกันกับพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน — ต้องการทั้งความเงียบสงบให้ความคิดได้โลดแล่น พร้อมๆ กับการถกเถียงแลกเปลี่ยนในระดับความดังที่จะไม่รบกวนต่อผู้คนรอบข้าง


—• สมมติ Book Café •— จึงถูกออกแบบด้วยกรอบคิดเรื่องการแบ่งพื้นที่ระหว่าง ‘พวกเรากันเอง’ กับ ‘ผู้คนที่เข้ามาใช้บริการ’

และ ‘ระหว่างผู้คนที่เข้ามาใช้พื้นที่ด้วยกันเอง’

‘Space’ ที่ดูเหมือนเปิดโล่ง กลับถูกกั้นและแบ่งโซนอย่างชัดเจน ทั้งพื้นที่ภายในอาคาร-พื้นที่ภายนอกใต้ชายคา-และพื้นที่ภายนอกสุด ทั้งสามโซนมีจุดเชื่อมกันตรง courtyard เล็กๆ ที่มีต้นเสม็ดแดงเป็นแกนกลาง รวมทั้งเป็น buffer zone ระหว่างออฟฟิศสำนักงานกับคาเฟ่



พื้นที่ส่วนตัวเกิดซ้อนทับกับพื้นที่ส่วนรวม ผสมกลมกลืนไม่แยกขาด พอๆ กับไม่รวมเป็นพื้นที่เดียวกัน

ด้วยแนวคิดพื้นฐานในการออกแบบเช่นนี้ เราจึงได้พื้นที่ส่วนรวมโดยไม่ละเลยความเป็นส่วนตัว




—• สมมติ Book Café •— เป็นพื้นที่เฉพาะในแนวทางที่ชัดเจนของสำนักพิมพ์สมมติ แม้มันจะไม่หวือหวา ไม่ชิค ไม่คูล และไม่อะไรอีกหลายอย่างตามคาเฟ่สมัยนิยม

แต่มันเป็นพื้นที่เฉพาะที่พร้อมเปิดต้อนรับทุกคนที่ชื่นชอบวรรณกรรมและบรรยากาศของการดื่มกาแฟ

—• สมมติ Book Café •— คงเป็นเหมือนที่ เคท โชแปง (Kate Chopin) เขียนไว้ใน The Awakening วรรณกรรมเล่มสำคัญของเธอว่า

❝...มันเป็นสถานที่ที่เล็กและธรรมดาเกินไปสำหรับคนในแวดวงสังคมชั้นสูง และก็เงียบเกินไปสำหรับผู้ที่โปรดปรานแสงสีและเสียงอึกทึกแห่งอารยธรรมสมัยใหม่...❞


Project: The Alphabet Book Café
Architect: Twist Kongpila
Landscape & Interior: SM Studio
Contractor: MR.Korn
Inspired by All dear Readers

Follow Us
Instagram : @alphabetbookcafe.bkk
Line@ : Alphabet BookCafé 


Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้